Page 89 - 22353_Fulltext
P. 89
จำเป็นของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงได้อย่างยั่งยืน โดยในที่นี้การจัดเวทีสานเสวนาอาจ
ปรับใช้โดยแทรกไว้ในการจัดเวทีประชาคมต่างๆของหมู่บ้านชุมชนได้ โดยอาจแทรกไว้ทั้งในส่วนของ
กระบวนการและเนื้อหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง เพื่อเตรียมความพร้อมและติด
อาวุธทางปัญญาให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกอยู่ตั้งเสมอ เพราะจากผลการศึกษาชี้ให้เห็นแล้วว่าเวทีสานเสวนานั้น
สามารถสร้างความเข้าใจและเพิ่มสำนึกให้แก่ผู้เข้าร่วมได้เพียงแต่ต้องใช้เวลาเท่านั้น
2. ควรมีการพัฒนาสื่อบุคคล: จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าภายหลังจากเข้าร่วมเวทีสานเสวนาแล้ว
ผู้เข้าร่วมเวทีกว่า 99% ได้นำโครงการนี้ไปเผยแพร่ต่อ โดยส่วนใหญ่มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงการนี้
ให้แก่คนรู้จักและบุคคลใกล้ชิด ในแง่นี้จะเห็นได้ว่าการบอกต่อเป็นรูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อมและบริบทของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่มากที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้การเพิ่มจำนวน “สื่อบุคคล” ให้
มากขึ้นจึงมีความจำเป็น เพื่อให้สื่อบุคคลเหล่านี้กระจายข่าวออกไปสู่กลุ่มบุคคลใกล้ชิดที่ตนรู้จัก กระทั่ง
โครงการกลายเป็นกระแสซึ่งอาจจะช่วยให้การดำเนินโครงการได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น การพัฒนาสื่อบุคคลยังมีความสอดคล้องกับลักษณะของการรณรงค์ในระดับพื้นที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรณรงค์เผยแพร่โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้งระดับ
จังหวัดอย่างการเลือกนายก อบจ. เนื่องจากการจัดเวทีเสวนาหาทางออกในทุกอำเภอเป็นไปได้ยาก
ด้วยข้อจำกัดเรื่องระยะเวลา การนัดหมายผู้สมัครให้เข้าร่วมเวทีระดับอำเภอทุกอำเภอก็แทบเป็นไปไม่ได้
อีกทั้งยังใช้งบประมาณมาก ด้วยเหตุนี้ หากต้องการดำเนินโครงการให้ทั่วถึงครอบคลุมภายในระยะเวลา
กระชั้นชิด จำเป็นต้องมีเครือข่ายในระดับชุมชน ตำบล เข้ามาร่วมปฏิบัติการให้มากขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็น
“สื่อบุคคล” ซึ่งมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการประชาสัมพันธ์โครงการออกไปสู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระดับพื้นที่
ซึ่งการพัฒนาสื่อบุคคลแท้จริงแล้วก็มีความสัมพันธ์กับการจัดเวทีสานเสวนาอย่างต่อเนื่องซึ่งกล่าวไปแล้วใน
ข้อที่ 1
3. ทำความเข้าใจกฎหมายเลือกตั้ง: ที่ผ่านมาจะพบได้ว่ากฎหมายเลือกตั้งมักถูกนำเสนอโดยเน้นไปที่
บทลงโทษของผู้กระทำผิด เพราะโดยเนื้อหาของกฎหมายเลือกตั้งมักจะขึ้นต้นด้วยเรื่องของการให้ทำหรือให้ทำ
เรื่องหนึ่งเรื่องใด เช่น พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 นั้นใน
มาตรา 91 และ 92 ระบุชัดเจนถึงสิ่งที่ห้ามไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดจ่ายแจก หรือให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่น
ใดแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจมิให้ไปออกเสียงลงคะแนน หรือกระทำการใด ๆ เพื่อมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปออก
เสียงลงคะแนน (มาตรา 91) และห้ามมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดเรียกรับหรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือ
ประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เพื่อลงคะแนนเลือกหรือลงคะแนนไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด หรืองดเว้นไม่
ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครผู้ใด (มาตรา 92) กระนั้น หากพิจารณาในเนื้อหาโดยตลอดจะเห็นได้ว่าแม้เนื้อหาโดย
หลักจะเป็นการ “ห้าม” การกระทำที่อาจก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันในการแข่งขัน แต่ถึงอย่างนั้น
88