Page 86 - 22353_Fulltext
P. 86
สาธารณะเพราะในทางปฏิบัติ ผู้เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยอาจตั้งคำถามต่อเป้าหมายของการจัดเวที
เพราะฉะนั้น ความเป็นกลาง โปร่งใส ตรวจสอบได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเรื่องเหล่านี้จำเป็นต้อง
ได้รับการแสดงออกมาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมด้วย ซึ่งการแสดงออกถึงความเป็นกลางอย่างเป็น
รูปธรรมในการจัดเวทีเสวนาแบบสาธารณะหรือในที่นี้คือการสานเสวนาหาทางออกจะทำได้
อย่างไรบ้างนั้นจะกล่าวถึงในส่วนถัดไป ผ่านกรณีของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียง จังหวัดชัยภูมิ
ทั้งสามหลักการข้างต้นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแสดงให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ทราบและรับรู้
ถึงความเป็นกลางของผู้ดำเนินโครงการซึ่งความเป็นกลางนั้นจะส่งผลต่อการเปิดใจและความไว้วางใจของ
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอันเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้โครงการดำเนินต่อไปและเพิ่มโอกาสที่จะประสบ
ความสำเร็จได้ในอนาคต
ประการที่สาม รูปแบบการหาเสียงกับการเมืองสร้างสรรค์
จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่ารูปแบบการหาเสียงที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อการนำเสนอเนื้อหานั้นสามารถ
ส่งผลต่อการหาเสียงที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาพบว่าการหาเสียงที่ไม่ได้มีการจัดเวทีปราศรัยนั้นส่งผลให้
ความรุนแรงในการหาเสียงลดลงได้เนื่องจากเมื่อไม่มีเวทีปราศรัย ทำให้โอกาสที่ผู้สมัครและหมายเลขจะกล่าว
พาดพิงกันจะเกิดขึ้นได้น้อยลงไปด้วย และการรับรู้เรื่องความสมานฉันท์และการหาเสียงที่เป็นไปอย่าง
สร้างสรรค์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ในระดับสูง ในแง่นี้ผู้วิจัยมองว่ารูปแบบการหาเสียงมีความสำคัญการส่งเสริม
การเมืองสร้างสรรค์นอกจากจะต้องเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้สมัครเรื่องของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ระหว่างผู้สมัครแล้ว การพิจารณาเรื่องของเทคนิคต่างๆในการหาเสียงเพื่อให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ลดการ
เผชิญหน้าแบบไม่สร้างสรรค์และเปิดพื้นที่การพบกันฉันท์มิตรเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการลดความ
รุนแรงในการหาเสียงและเสริมความสมานฉันท์ของชุมชนภายหลังการเลือกตั้งได้
ในที่นี้ ผู้วิจัยเสนอว่าการเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการร่วมกำหนดกติกา
จับตาการหาเสียงเลือกตั้งและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเป็นระยะอย่างต่อเนื่องในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ดังเช่น
การจัดเวทีประชาเสวนาที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้พบปะแลกเปลี่ยนมุมมองเชิงนโยบาย
ระหว่างกันนั้นเป็นรูปแบบการหาเสียงเชิงสร้างสรรค์ประการหนึ่งที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยฝ่าย
ต่างๆ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นแล้วว่าทัศนคติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นเริ่มปรับเปลี่ยนไปและตระหนักถึง
ศักยภาพของตนเองในการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ชุมชนที่ดีได้ภายหลังจากมีเวทีให้ผู้มิสิทธิเลือกตั้งได้
แสดงออก การแสดงความคิดเห็นเชิงนโยบายเหล่านี้และการร่วมกันกำหนดกติกาในเวทีเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้าง
พันธะทางความรู้สึกและสร้างความรับผิดชอบให้แก่ผู้สมัครต้องแบกรับและปฏิบัติให้จงได้ ในแง่นี้หากผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งได้มีเวทีแสดงความคิดเห็นและติดตามการหาเสียงให้เป็นไปตามนโยบายอย่างต่อเนื่องจะยิ่งเสริมให้
85