Page 82 - 22353_Fulltext
P. 82
ประการที่สอง ความไว้วางใจและความเป็นกลางคือหัวใจของความร่วมมือ
อย่างไรก็ตามแม้ผลการศึกษาจะชี้ให้เห็นว่าการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเข้าใจ
ความสำคัญของโครงการและเห็นว่าโครงการเป็นสิ่งที่ดี ทว่าด้วยความที่เป้าหมายสุดท้ายของผู้สมัครไม่ได้
สิ้นสุดแค่บนเวทีเสวนาแต่มันคือชัยชนะจากการเลือกตั้ง ดังนั้น การให้ความรู้เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียง
พอที่จะทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินโครงการตัดสินใจเข้าร่วม
โครงการและเข้าร่วมในกิจกรรมประชาเสวนา แม้ในความเป็นจริงการถูกปฏิเสธจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอาจ
เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประเด็นที่เสวนานั้นมีความอ่อนไหวและละเอียดอ่อนเกี่ยวพันกับ
ผลประโยชน์ ศักดิ์ศรี และชัยชนะ ทว่าหากเป็นเช่นนั้นเวทีเสวนาที่ขาดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักๆจึงยากที่จะ
บรรลุเป้าหมายที่พึงพอใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอันเป็นเป้าหมายหลักของเวทีเสวนาได้
จากผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าการคำนึงถึงผลประโยชน์ ศักดิ์ศรี และชัยชนะของผู้สมัครประกอบกัน
ไป โดยผู้วิจัยมีการปรับตัวและนำเอาหลักของความเป็นกลางมาปรับใช้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสจริงใจ
และความเป็นกลางของผู้จัด ก็สามารถลดความห่วงกังวลของผู้สมัครที่เกรงว่าจะเสียคะแนนเสียงลงไปได้อย่าง
มาก เพราะต้องไม่ลืมว่า คะแนนเสียง คือเป้าหมายสูงสุดของผู้สมัคร ดังนั้นจึงไม่แปลกที่พวกเขาจะคาดหวังว่า
เวทีที่จะเข้าร่วมนั้นต้องไม่ทำให้พวกเขาสูญเสียคะแนนเสียงเมื่อไปร่วม เวทีต้องไม่ทำให้พวกเขาเสียเปรียบ
และต้องไม่มีการผูกมัดพวกเขาในทางปฏิบัติ เช่นการทำสัญญาหรือการทำข้อตกลงร่วมกันในเรื่องอันใด ในแง่
นี้ความเป็นกลางและความโปร่งใสของเจตนารมณ์ในการจัดเวทีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยจะต้องแสดงออกมา
ให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าความสามารถในการตอบ
คำถามได้อย่างชัดเจนถึงรายละเอียดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นกลางและรักษาผลประโยชน์ในการที่จะไม่เสีย
คะแนนของผู้สมัครเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้ผู้สมัครมีโอกาสตัดสินใจเข้าร่วมเวทีเสวนากับสาธารณะ
ชน
ดังนั้น เพื่อคลายข้อสงสัยถึงความเป็นกลางในการจัดงาน การที่ผู้วิจัยจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับ
“กระบวนการ” จัดเวทีเสวนาให้ชัดเจน กำหนดเงื่อนไขกติกาให้แก่ผู้สมัครได้รับทราบว่าทุกคนที่เข้าร่วมเวที
จะต้องปฏิบัติตนอย่างไรบ้างโดยจัดทำเป็นแผ่นเอกสารระบุถึงรายละเอียดการจัดงาน ไม่ว่าจะเป็นคำถาม
ระยะเวลาในการตอบคำถาม ข้อที่พึงปฏิบัติและข้อห้ามในการเข้าร่วมเวทีออกมาอย่างชัดเจน ก็อาจช่วยใน
การคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับกิจกรรและข้อสงสัยในความเป็นกลางลงไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากในนั้นระบุถึง
บทบาทของผู้อำนวยการเสวนา (facilitator) ว่าจะแสดงบทบาทอย่างไรให้เป็นกลาง อาทิ การใช้วิธีการจับ
ฉลากในการตอบคำถามในแต่ละรอบหรือการที่ผู้อำนวยการเสวนาจะไม่ขานชื่อหรือแม้แต่หมายเลขของผู้ใด
เพื่อหลีกเลี่ยงข้อครหาในการหาเสียงนั้นก็อาจเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างความไว้วางใจได้
81