Page 78 - 22353_Fulltext
P. 78

3) ผู้เข้าร่วมเวทีตื่นตัวร่วมกำหนดกติกาในการเลือกตั้ง และร่วมเผยแพร่โครงการนี้


                       ผลจากการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าการจัดเวทีเสวนาหาทางออกเพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์

               และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้นสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นตัวแทนใน
               เวทีได้ โดยผลการสัมภาษณ์ผู้ที่เข้าร่วมเวทีเสวนาระบุให้เห็นว่าร้อยละ 99 ของผู้ที่เข้าร่วมเวทีเสวนานำเอา

               เรื่องของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปเผยแพร่ต่อผ่านช่องทางต่างๆไม่ว่าจะเป็น การบอก

               ต่อกับผู้รู้จัก บอกเล่าแก่กำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนที่ทำงาน การแจ้งต่อที่ประชุมหมู่บ้าน การแจ้งผ่านเสียงตาม

               สาย การนำไปออกรายการวิทยุหรือแม้แต่การโพสต์ข้อความผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ สิ่่งนี้แสดงให้เห็นถึง

               ความสนใจและความตื่นตัวของผู้ที่เข้าร่วมโครงการในการเผยแพร่โครงการออกไปสู่ผู้อื่นในชุมชนได้ อย่างไรก็

               ตาม ข้อน่าสังเกตประการณ์หนึ่งคือ รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีลักษณะประชาสัมพันธ์กับบุคลคลใกล้ตัวคน

               ใกล้ชิดนี้ แม้จะสะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวของผู้ที่เข้าร่วมโครงการที่อาจส่งต่อถึงผู้คนในสังคมได้ กระนั้น ก็
               อาจมีข้อจำกัดในเรื่องของการถ่ายทอดเนื้อหาองค์ความรู้เชิงวิชาการอยู่พอสมควร ซึ่งอาจกระทบต่อความ

               เข้าใจอย่างแท้จริงของผู้ที่รับฟังต่อๆกันไปได้ แต่ถึงอย่างนั้นการสื่อสารโดยสื่อบุคคลก็คือรูปแบบดั้งเดิมที่มี

               ประสิทธิภาพ เมื่อทราบเช่นนี้ผู้ดำเนินโครงการอาจจะต้องพิจารณาจัดสรรค์ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ซับซ้อน

               น้อยลงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการจดจำได้ง่ายขึ้นและสามารถถ่ายทอดหัวใจของโครงการที่ต้องการสื่อสารไปได้

               มีประสิทธิภาพมากขึ้น

                       อย่างไรก็ตาม แม้การประชาสัมพันธ์โดยผู้เข้าร่วมเสวนาจะเป็นสิ่งสำคัญแต่ภาครัฐและหน่วยงานที่

               เกี่ยวข้องอื่นๆยังต้องแสดงบทบาทสำคัญในการประชาสัมพันธ์เรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย

               เสียงอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างให้แนวคิดดังกล่าวเป็น “กระแส” ที่ได้รับการพูดถึงในชุมชนอย่างต่อเนื่องกระทั่ง

               ถึงวันเลือกตั้ง โดยอาจพิจารณาดำเนินการไปพร้อมๆกับการสร้างแกนนำในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่ช่วย

               ประชาสัมพันธ์แก่คนในชุมชนอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ หากต้องการให้โครงการมีการขยายผลได้อย่างมี

               ประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งที่ผู้วิจัยจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กันไปนอกเหนือจาก ความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
               แล้วก็คือเรื่องของศักยภาพบทบาทหน้าที่และโอกาสในการขยายผลโครงการของตัวแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้า

               ร่วมโครงการ รวมไปถึงการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงองค์ความรู้ที่เข้าใจง่าย การมีช่องทางการแจ้งข่าวสาร และ

               การสร้างให้โครงการเป็นกระแสได้รับการพูดถึงอย่างมากในชุมชนอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้มี

               การพูดถึงโครงการนี้เพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งที่ผ่านมาการสร้างให้โครงการได้รับการกล่าวถึงและเป็นกระแสยังไม่ถูก

               ดำเนินการมากนัก ส่วนหนึ่งอาจจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์
               โครงการให้ทั่วถึงและเป็นที่รู้จัก










                                                                                                       77
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83