Page 79 - 22353_Fulltext
P. 79
4) ผู้สมัครให้ความสำคัญกับการหาเสียงเชิงสร้างสรรค์ไม่โจมตีฝ่ายตรงข้าม
ผลการศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการหาเสียงของผู้สมัครเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การโจมตีเรื่อง
ส่วนตัวของผู้สมัครคนอื่นลดลงไปอย่างมาก แม้ว่าจะไม่ได้หมดลงไปในทันที โดยการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าการ
หาเสียงของผู้สมัครนั้นไม่ได้มีลักษณะของการโจมตีหรือพาดพิงผู้อื่นเช่นแต่ก่อน โดยสิ่งที่เห็นเพิ่มขึ้นคือผู้สมัคร
เน้นกล่าวถึงสโลแกนของตนเอง เรื่องราวของตนเอง และนโยบายของตนเองเป็นหลัก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
รูปแบบของการหาเสียงที่ผู้สมัครใช้รถแห่ในการหาเสียงกันอย่างมาก ทำให้เนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านรถแห่เป็นไป
ได้อย่างจำกัด แตกต่างจากการจัดเวทีปราศรัยซึ่งมีแนวโน้มที่จะพาดพิงกันได้มากกว่า รูปแบบการหาเสียงที่ใช้
รถแห่มากขึ้นนี้สัมพันธ์กับการหาเสียงที่โจมตีกันลงดลง แน่นอนว่าสุดท้ายการแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงให้
หมดไปไม่อาจกระทำได้ผ่านการจัดเวทีเสวนาเพียงครั้งหรือสองครั้ง ทว่าผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการแข่งขัน
ของผู้สมัครเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ลักษณะของการโจมตีผู้สมัครคนอื่นลดน้อยลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งส่วนหนึ่งมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการหาเสียงที่ใช้
รถแห่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เนื้อหาที่บันทึกไว้เป็นไปอย่างจำกัดมุ่งเน้นนำเสนอไปที่สโลแกนของผู้สมัครและ
นโยบายเป็นหลัก ซึ่งต่างจากการจัดเวทีปราศรัยซึ่งมีโอกาสที่ผู้สมัครจะกล่าวพาดพิงหรือโจมตีผู้สมัครคนอื่นได้
ผลการศึกษานี้จึงชี้ให้เห็นว่าบางทีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหาเสียงอาจทำให้ความรุนแรงในการหาเสียง
ลดลงได้
5) ยอมรับผลการเลือกตั้ง
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าภายหลังการเลือกตั้งผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่มี
การคุกคามข่มขู่ผู้สมัครหรือผู้สนับสนุนผู้สมัครทั้งฝ่ายที่ชนะและฝ่ายที่แพ้ โดยผู้สมัครนายก อบจ. มีการ
ประกาศแสดงความยินดีกับผู้ที่ชนะการเลืกอตั้งผ่านเฟสบุ๊คของตนเองอย่างเป็นทางการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึง
บรรยากาศของการยอมรับผลการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งในการดำเนินโครงการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง นอกจากนั้น ข้อมูลจากการสำรวจพบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้อยละ 97 เชื่อว่า
โครงการนี้สามารถส่งเสริมความสมานฉันท์ในชุมชนได้ ด้านผู้สมัครก็เช่นเดียวกันมองว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป
จากการดำเนินโครงการนี้ที่เห็นได้ชัดเมื่อก็คือความสมานฉันท์การยอมรับซึ่งกันและกัน การรับฟังความเห็น
ต่างและการให้เกียรติกันระหว่างผู้สมัครและผู้สนับสนุนแต่ละฝ่าย แม้ว่าสุดท้ายแล้วการซื้อสิทธิขายเสียงอาจ
ไม่ได้หมดไปในการรณรงค์เพียงครั้งหรือสองครั้งแต่ความสมานฉันท์นั้นถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่า
ข้อค้นพบนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า หากผู้สนใจนำโครงการนี้ไปดำเนินการต่ออาจจะต้องพิจารณาเรื่อง
การรณรงค์เลือกตั้งแบบสมานฉันท์ ไม่เน้นการแข่งขันรุนแรงและการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ไม่โจมตีให้มากขึ้น
เพราะเป็นประเด็นที่ทั้งผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะสุดท้ายภายหลังการ
เลือกตั้งพวกเขาก็ต้องอยู่ร่วมกันในชุมชนเดียวกันอยู่ดีทั้งยังส่งเสริมได้ง่ายกว่าการ “ห้าม” ไม่ให้มีการจ่ายหรือ
78