Page 75 - 22353_Fulltext
P. 75

บทที่ 5

                                                อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ


                       การวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง จังหวัดชัยภูมิ
               มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย

               แบบปรึกษาหารือและการสานเสวนาหาทางออก 2) เพื่อนำแนวคิดหลักการวิธีการของประชาธิปไตยแบบ

               ปรึกษาหารือและการสานเสวนาหาทางออกไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ

               ขายเสียง และ 3) เพื่อพัฒนาผลการศึกษาและแนวทางการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงให้เป็น

               ข้อเสนอเชิงนโยบาย


                       ผลการศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่าแนวทางการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่
               ผู้วิจัยแบ่งไว้เป็น 3 ระยะ โดยกำหนดให้แต่ละระยะจะมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยแบบ

               ปรึกษาหารือและหลักการสานเสวนาหาทางออก เพื่อที่สุดท้ายแล้วจะนำมาสู่เป้าหมายตามกระบวนการ 6

               ประการ คือ 1) ผู้เข้าร่วมเวทีมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น 2) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าใจโครงการและยินดีเข้าร่วม

               เวทีสานเสวนาหาทางออก 3) ผู้เข้าร่วมเวทีตื่นตัวร่วมกำหนดกติกาในการเลือกตั้ง และร่วมเผยแพร่โครงการนี้

               4) ผู้สมัครให้ความสำคัญกับการหาเสียงเชิงสร้างสรรค์ไม่โจมตีฝ่ายตรงข้าม 5) ยอมรับผลการเลือกตั้ง และ6)

               การฟ้องร้องคดีความเกี่ยวกับการเลือกตั้งลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น ผลจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
               พบว่ากระบวนการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายผ่านการจัดเวทีสานเสวนาหาทางออกตาม

               แนวทางประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้น สามารถส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละด้านดังนี้


                       1) ผู้เข้าร่วมเวทีมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น


                       ผลจากแบบทดสอบชี้ให้เห็นว่าเวทีเสวนาหาทางออกสามารถช่วยเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่

               ผู้เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมเวทีเสวนาได้ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการจัดเวทีเสวนาโดยมีการเสริมความรู้ความเข้าใจ

               ก่อนเริ่มต้นแลกเปลี่ยนนโยบายระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้น สามารถเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ
               ให้แก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการได้ โดยผลจากการศึกษาพบว่าผู้ที่เข้าร่วมเวทีเสวนาร้อยละ 90.44 ได้คะแนนเพิ่ม

               มากขึ้นหลังเข้าร่วมเวที   ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนามีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นว่าการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ

               ขายเสียงไม่ใช่การฮั้วกันแต่มีเป้าหมายเพื่อการหาเสียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้การเลือกตั้งสิ้นสุดลงด้วยความ

               สมานฉันท์ โดยได้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 6.55 เป็น 8.08 คะแนน แสดงให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความรู้

               และความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงทั้งในแง่
               หลักการและกฎหมายเพิ่มมากขึ้นภายหลังเข้าร่วมโครงการ อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้เข้าร่วมร้อยละ 9.55 ที่ได้

               คะแนนเท่าเดิม ซึ่งเรื่องนี้ผู้วิจัยวิเคราะห์ว่ามีเงื่อนไขอย่างน้อย 2 ประการที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจดังกล่าว







                                                                                                       74
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80