Page 76 - 22353_Fulltext
P. 76

ประการแรก เป็นเรื่องของระยะเวลาในการให้ความรู้ เนื่องจากเวทีนี้มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างการ

               แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาคส่วนต่างๆเป็นหลัก ส่งผลให้การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกลายเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาอีกหลายส่วนที่จะต้องนำเสนอในเวทีเสวนา

               ก่อนเริ่มต้นกระบวนการเสวนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฟังอย่างตั้งใจ สุนทรียสนทนา กติกาในการสานเสวนา
               กระบวนการแสวงหาฉันทามติ และกฎหมายเลือกตั้ง ทำให้ภายใต้ระยะเวลาที่จำกัดนั้นแนวคิดเรื่องการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้นอาจถูกลดทอนความสนใจไปโดยบริบทได้


                       ประการที่สอง เรื่องบริบทแวดล้อมและเป้าหมายหลักในเวทีเสวนาซึ่งเน้นไปที่การมารับฟังและ

               สอบถามนโยบายกับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นหลัก ไม่ใช่การเรียนรู้เนื้อหาทางด้านวิชาการ ดังนั้นบรรยากาศใน

               การถ่ายทอดความรู้ในเวทีจึงไม่เอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือซักถามกรณีที่มีข้อสงสัยต่อเนื้อหาวิชาการได้

               เมื่อเป็นเช่นนี้จึงอาจมีกรณีที่ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาจะยังเชื่อมั่นในความคิดเก่าๆเพราะยังไม่เข้าใจว่าแนวคิดเรื่อง
               การปรึกษาหารือจะกระทำอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร จึงทำให้พวกเขายืนยันที่จะตอบคำถามด้วยคำตอบเดิม


                       จากข้างต้น ตามทฤษฎีเรื่องการศึกษาสำหรับพลเมืองได้เช่นกันว่าการส่งเสริมการศึกษานั้นจำเป็นต้อง

               ใช้ระยะเวลา ดังนั้น แม้ในเวทีประชาเสวนาผู้วิจัยจะจัดให้มีช่วงของการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงและบทบาทพลเมืองประชาธิปไตยไว้ด้วย ทว่าด้วยเป้าหมายของเวทีประชา

               เสวนาร่วมระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นอยู่ที่การเปิดโอกาสให้ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้
               แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนโยบายระหว่างกัน การให้ความรู้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่มาก นับเป็นข้อจำกัด

               ประการหนึ่ง จึงทำให้มีคนจำนวนหนึ่งที่ยังไม่อาจเปลี่ยนความคิดหรือเกิดความเข้าใจในประเด็นที่นำเสนอได้


                       อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการประชาเสวนาและการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจใน

               ประเด็นเฉพาะให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ตระหนักในความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกตั้งและการมี

               คุณภาพชีวิตที่ดีสามารถเกิดขึ้นได้ ผ่านการจัดเวทีเสวนาที่ผสานระหว่างการสร้างความรู้สู่การลงมือปฏิบัติ ซึ่ง
               สอดคล้องกับแนวคิดการศึกษาสำหรับพลเมืองที่ไม่ได้มีเพียงแค่การสร้างความรู้ในห้องเรียนเท่านั้นแต่การ

               เรียนรู้ยังเกิดขึ้นได้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วย การจัดเวทีประชาเสวนานับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการสร้าง

               ความรู้เสริมทักษะและสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นแก่พลเมืองได้


                       ด้วยเหตุนี้เอง การที่ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาจะมีความรู้ที่ไม่เพิ่มขึ้นนั้นหรือแม้กระทั่งอาจลดลงได้จึงเป็น

               เรื่องปกติของการเข้ารับฟังการบรรยายในเวทีเพียงแค่ครั้งสองครั้ง ภายใต้ระยะเวลาจำกัด ทั้งยังมีการเฉลี่ย

               การถ่ายทอดองค์ความรู้ไปในหลายเรื่อง ไม่ได้เน้นให้ความรู้แบบเป็นการเฉพาะ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะทำให้การ
               เรียนรู้เป็นไปได้อย่างไม่เต็มที่ อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ที่ได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นจากการร่วมเวที 2 ครั้ง ซี่งเฉลี่ยสูง

               กว่าร้อยละ 50 ได้ชี้ให้เห็นว่าการจัดเวทีเสวนาสามารถเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่

               ผู้ที่เข้าร่วมได้




                                                                                                       75
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81