Page 84 - 22353_Fulltext
P. 84

เข้าใจกระบวนการสานเสวนา และสามารถแสวงหาฉันทามติร่วมกันได้เพื่อเป็นข้อผูกพันในการปฏิบัติระยะ

               หนึ่งนั้น มีรายละเอียดที่ไม่อาจละเลยได้มากมาย เพราะแม้ว่าสุดท้ายผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะยินดีเข้าร่วมเวที

               สานเสวนาหาทางออกแล้ว ทว่ากระบวนการต่างๆในการจัดสานเสวนาในเวทีสาธารณะนั้นก็เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่

               จะทำให้การจัดเวทีสาธารณะผ่านไปด้วยดีและมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ ดังที่ นักวิชาการหลายท่านได้
               ชี้ให้เห็นว่าสุดท้ายแล้วผลการสานเสวนาหาทางออกอาจไม่ได้มาจากการสานเสวนาเพียงแค่ครั้งหรือสองครั้ง

               ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาและต้องใช้ความอดทนอย่างมาก

               โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเด็นที่ละเอียดอ่อนและเป็นสาธารณะมีผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญ

               ของเวทีปรึกษาหารือแบบสาธารณะจึงไม่ได้สิ้นสุดลงที่การได้มาซึ่ง “ข้อเสนอ” บางอย่างที่หวังผลในการผูกมัด

               ในระยะหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญคือการจบลงของเวทีปรึกษาหารือแบบสาธารณะที่ทุกฝ่ายรู้สึกว่า “ได้ประโยชน์”
               เนื่องจากสิ่งนี้จะเกี่ยวพันกับการจัดเวทีสาธารณะเพื่อปรึกษาหารือในประเด็นอื่นๆต่อไป


                       อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการ

               หารือกันเป็นการเฉพาะหรือในแบบสาธารณะ ก็จำเป็นต้องยึดหลักความเป็นกลางไว้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

               เมื่อต้องดำเนินโครงการกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งผลจากการศึกษาสรุปได้ว่าในการ

               เชิญชวนผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวทีเสวนานั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงหลัก 3 ประการ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็น

               กลางของผู้อำนวยการเสวนา

                       ประการแรก หลักผลประโยชน์ ในทีนี้หมายถึงผู้จัดจะต้องตระหนักว่ากลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องนั้น

               ต่างก็มีผลประโยชน์และความห่วงกังวลที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมเวที

               เสวนานั้นจะต้องมีการวิเคราะห์ผลประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมายอย่างรอบด้านเพื่อขจัดความกังวลใจในจุดนั้น


                       ประการที่สอง หลักแสวงหาความเป็นไปได้ร่วมกัน ในที่นี้คือการที่ผู้วิจัยจะต้องประเมินทางเลือก

               หลายๆทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพราะว่าหลักทฤษฎีกับการปฏิบัติบางเรื่องอาจไม่สามารถไปด้วยกันได้
               เนื่องจากบริบทแต่ละที่แตกต่างกัน ในที่นี้การรับฟังประสบการณ์และคำแนะนำจากคนในพื้นที่ รวมไปถึงรับ

               ฟังความห่วงกังวลของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อแสวงหาความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน จะช่วยให้ผู้จัด

               สามารถกำหนดทางออกที่เหมาะสมในการเข้าหากลุ่มเป้าหมายแต่ละฝ่ายได้สอดคล้องกับบริบท


                       ประการที่สาม หลักความเป็นกลาง จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้

               ความสำคัญมากที่สุดก็คือเรื่อง “ความเป็นกลาง” ทั้งนี้เพราะเรื่องของความเป็นกลางจะเกี่ยวพันกับการรักษา

               ผลประโยชน์ของผู้เข้าร่วมเสวนา การแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลางอย่างประจักษ์จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญในทุก
               กระบวนการจัดเวทีเสวนา ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการจัดเวทีเสวนา การดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลางนอกจาก

               จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมเวทีเสวนาแล้วยังมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันให้เกิดเวทีเสวนาอย่างต่อเนื่องอีก

               ด้วย




                                                                                                       83
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89