Page 90 - 22353_Fulltext
P. 90

กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามเรื่องการรณรงค์การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง ด้วยเหตุนี้เองจึง

               ควรมีการทำความเข้าใจข้อกฎหมายเกี่ยวกับเจตนารมณ์ให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ทราบว่าแม้โดยเนื้อหาของ

               กฎหมายเลือกตั้งจะห้ามไม่ให้มีการซื้อสิทธิขายเสียงหรือห้ามกระทำการใดๆที่จะก่อให้เกิดการจูงใจหรือเข้าใจ

               ผิดในการลงคะแนนเสีง แต่โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้วต้องการส่งเสริมให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์
               ยุติธรรม ดังนั้น การรณรงค์การเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงก็เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะ

               ส่งเสริมการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมได้จึงเป็นสิ่งที่กระทำได้ตามกฎหมาย ซึ่งการเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับ

               เจตนารมณ์ของกฎหมายให้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับทราบมากขึ้น อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ที่สนใจ

               อยากออกมารณรงค์การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรมกล้าที่จะออกมาดำเนินการมากขึ้น


                       4. เริ่มจากการรณรงค์การเลือกตั้งสมานฉันท์: จากผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินโครงการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้น เมื่อพิจารณาถึงผลลัพธ์ของโครงการจะเห็นได้ว่าความสำเร็จใน
               การส่งเสริมความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าการรณรงค์ให้ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง สิ่งนี้

               ทำให้ผู้จัดจำเป็นต้องกลับมาพิจารณาว่าการส่งเสริมให้เกิดการเลือกตั้งที่ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงนั้น ในทาง

               ปฏิบัติอาจจำเป็นต้องเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายกว่า เช่น เน้นไปที่การส่งเสริมการเลือกตั้งที่สมานฉันท์ โดยการลด

               การแข่งขันที่รุนแรงลง ด้วยการส่งเสริมให้ผู้สมัครหาเสียงอย่างสร้างสรรค์ ไม่โจมตีหรือพาดพิงผู้สมัครคนไหน

               เพื่อลดความน่าเชื่อถือและเรียกคะแนนจากผู้มิสิทธิเลือกตั้ง แต่ควรเน้นนำเสนอข้อดีของตน แนวคิด วิสัยทัศน์
               ตลอดจนนโยบายการพัฒนาของตนเองเป็นหลักแทน ซึ่งเมื่อผู้สมัครแต่ละฝ่ายหันไปให้ความสำคัญกับการ

               นำเสนอนโยบายและวิสัยทัศน์ของตนโดยไม่มีการโจมตีผู้ใดแล้ว การปะทะกันทางอารมณ์ระหว่างผู้สมัครย่อม

               ลดลง และเมื่อนั้นการเลือกตั้งย่อมมีโอกาสที่จะจบลงด้วยความสมานฉันท์ได้ ซึ่งความสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นอาจ

               มีความเชื่อมโยงไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมและไม่มีการใช้เงินเพื่อซื้อเสียงได้ในที่สุด


                       ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาโครงการในขั้นต่อไปในการจัดเวทีสานเสวนาหาทางออก อาจจำเป็นต้องเน้น

               นำเสนอไปที่การหาเสียงเชิงสร้างสรรค์ให้มากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการแข่งขันที่
               เป็นมิตรระหว่างผู้สมัครฝ่ายต่างๆ ด้วยความหวังที่ว่าหากการหาเสียงของแต่ละฝ่ายเป็นมิตรแก่กัน การแข่งขัน

               ที่รุนแรงที่หวังเอาแพ้ชนะกันอย่างเอาเป็นเอาตายย่อมลดลง และเมื่อการแข่งขันกันอย่างรุนแรงลดลงแล้ว

               นั่นอาจหมายความว่าการใช้เงินซื้อเสียงเพื่อหวังชัยชนะอาจลดลงไปด้วยเช่นเดียวกัน


               ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง


                       จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การส่งเสริมให้เกิดการเลือกตั้งที่ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงนั้น สามารถ
               กระทำได้โดยการนำหลักประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมาปรับใช้ร่วมกับรูปแบบกิจกรรมประชาเสวนา โดย

               ผลการศึกษาชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอันสืบเนื่องมาจากการดำเนินโครงการอย่างน้อยใน 6 ด้าน คือ 1)

               ผู้เข้าร่วมเวทีมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น 2) ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าใจโครงการและยินดีเข้าร่วมเวทีสานเสวนา




                                                                                                       89
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95