Page 42 - 22353_Fulltext
P. 42
จำนนต่ออิทธิพล และยอมรับความช่วยเหลือและยึดถือเป็นบุญคุณซึ่งกลายเป็นปัญหาในการพิทักษ์สิทธิ
พลเมืองและกลายเป็นแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2) ปัจจัยด้าน
การปรับเปลี่ยนบทบาทของกลุ่มทุน ที่หันมาใช้อำนาจทางการเมืองในการผลักดันนโยบายสาธารณะต่างๆ ซึ่ง
กลุ่มนี้มีทุนทางการเมืองหนา ทำให้ตัดโอกาสประชาชนทั่วไปในการเข้าไปต่อสู้กับนักธุรกิจการเมือง และ 3)
ปัจจัยด้านความอ่อนแอของกลไกในกระบวนการตรวจสอบ ซึ่งงานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการตรวจสอบของ
องค์กรอิสระยังคงถูกแทรกแซง โดยกลุ่มทุนมักส่งคนของตนเข้าไปทำหน้าที่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของ
เจ้าหน้าที่รัฐ ส่งผลให้องค์กรอิสระไม่สามารถมีอิทธิพลมากพอในการตรวจสอบถ่วงดุลย์ได้ การเข้าสู่การเมือง
ด้วยวิธีการที่ถูกต้องชอบธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญทว่าก็มีปัญหามากมายที่ทำให้คนดีไม่สามารถเข้ามาปกครอง
บ้านเมืองได้
กรณีศึกษาจากประเทศเคนยา ในการเลือกตั้งปี 2007-2008 ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นภายหลังการ
เลือกตั้ง จากผลการศึกษาของ Hervé Maupeu (2008, pp. 1-23) ในบทความเรื่อง “Revisiting Post-
Election Violence” (2008) ชี้ให้เห็นว่า 3 จาก 4 กรณีศึกษามีความรุนแรงเกิดขึ้นจากผู้ที่แพ้การเลือกตั้ง
โดยในการเลือกตั้งพบว่ามีความทุจริตเกิดขึ้นโดยกว้างขวาง ซึ่งปัจจัยของการซื้อสิทธิขายเสียงและความรุนแรง
ภายหลังการเลือกตั้ง การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เกิดขึ้นจากปัจจัยที่สลับซับซ้อนทั้งเรื่องของชาติพันธุ์ที่
หลากหลาย เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ การวางอิทธิพลของฝ่ายรัฐบาลที่ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม
การครองอำนาจของกลุ่มคณาธิปไตย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บรรยากาศเหล่านั้นเริ่มบรรเทาเบาบางลงไปภาย
หลังจากมีความพยายามของภาคประชาสังคม โดยเฉพาะนักกฎหมายในสมาคมกฎหมายเคนยาและองค์กร
พัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน นักการเมืองฝ่ายค้านที่พยายามแสวงหาทางจัดการกับปัญหาดังกล่าว โดย
วิธีการหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นคือการแสวงหาความจริงและดำเนินการกับผู้กระทำผิดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
เพื่อนำความน่าเชื่อถือกลับมาพร้อมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะระบบของ Moi จะไม่มีการ
เปลี่ยนแปลงหากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อทำให้การแข่งขันมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นและผู้สมัคร
สามารถแข่งขันกันได้อย่างแท้จริง ประกอบกับเมื่อผู้แทนของสหประชาชาติเข้ามาเป็นคนกลางในการเจรจา
และทำสัญญาหยุดยิง ก็ช่วยให้ความรุนแรงที่เชื่อมโยงกับวิกฤตการเลือกตั้งดูเหมือนจะผ่อนคลายลง แม้จะมี
ความตึงเครียดอยู่บ้างก็ตาม
กล่าวโดยสรุปได้ว่าการเลือกตั้งที่ไม่มีความรุนแรงจากประสบการณ์ของเคนยานั้นประกอบด้วยหลาย
เงื่อนไขทั้งเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความอ่อนแอลงของกลุ่มคณาธิปไตยที่ครองอำนาจก่อนหน้านี้ วิกฤติ
ชาติพันธ์และเศรษฐกิจที่เบาบางลง รวมไปถึงการเข้าไปประนีประนอมของสหประชาชาติในเรื่องข้อตกลงหยุด
ยิงและข้อตกลงสันติภาพ และการค้นหาความจริงของความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลายครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้และ
นำตัวผู้กระทำผิดไปรับโทษเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางการเมืองและสร้างความน่าเชื่อถือทางการเมืองกลับคืนมา
อย่างไรก็ตาม การเมืองเรื่องการเลือกตั้งของเคนยาก็ยังมีความเปราะบางมากและยังถูกใช้ไปอย่างซ่อนเร้นซึ่ง
41