Page 38 - 22353_Fulltext
P. 38

กระบวนการสร้างความสมานฉันท์จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยกระบวนการหรือวิธีการสร้างความสมานฉันท์

               ที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญมีมากมาย หลักๆคือเรื่องของ “การสร้างการยอมรับ” ความแตกต่างหลากหลาย

               การปรับความคิดและสร้างการยอมรับเป็นสิ่งสำคัญ โดยการยอมรับมีอาทิ การยอมรับสิ่งที่อีกฝ่ายเป็น ยอมรับ

               ฟัง ยอมรับความต่าง ยอมรับว่าทุกคนไม่ได้เหมือนกัน การยอมรับจึงเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับการสร้าง
               ความสมานฉันท์ ซึ่งจะเปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็นมิตรได้ เพราะการยอมรับจะช่วยสร้างจินตนาการได้อย่างสำคัญ

               ว่าพวกเขาจะสามารถอยู่ร่วมกันได้


                       แต่ถึงแม้การสร้างการยอมรับจะเป็นกระบวนการสำคัญและฟังดูง่ายแต่กลับยากในทางปฏิบัติ เพราะ

               ในสังคมมีการแบ่งขั้ว หลายคนกลัวและมองไม่ออกว่าจะอยู่โดยไม่มีปัญหาเหล่านั้นอย่างไร พวกเขาจินตนาการ

               ถึงวันที่ความขัดแย้งหมดไปไม่ได้ ทำให้พวกเขาจินตนาการถึงภาพที่อยู่ร่วมกันไม่ได้ ประกอบกับการที่ความ

               กลัว ความทุกข์ ความบอบช้ำ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเข้ามาในชีวิตให้พวกเขาต้องประสบเป็นระยะ จึงสร้าง
               ความรู้สึกคุ้นชินความเป็นปกติให้เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นเงื่อนไขที่จะต้องขจัดให้หมดออกไปก่อนที่จะ

               ดำเนินการสร้างความสมานฉันท์ เมื่อเป็นเช่นนี้สิ่งที่สำคัญอีกประการในการสร้างความปรองดองก็คือ

               “ระยะเวลา” การประนีประนอมสร้างความสมานฉันท์จะมีนัยสำคัญก็ต่อเมื่อมีกระบวนการต่อเนื่องในระยะ

               ยาว นอกจานั้น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการก็ไม่อาจกระทำได้สำเร็จ

               เพียงแค่ดำเนินการกับผู้เกี่ยวข้องเท่านั้นแต่จำเป็นต้อง ดำเนินการอย่างเต็มที่ในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและ
               พฤติกรรมสาธารณะไปพร้อมกันด้วยซึ่งจำเป็นต้องดำเนินต่ออย่างต่อเนื่อง


                       มีทฤษฎีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อกระบวนการสร้างความสมานฉันท์หลากหลาย

               ทฤษฎี ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีการสร้างสันติภาพ (Peace-making theory) และ ทฤษฎี

               ความละอายเชิงบูรณาการ (Reintegrative shaming theory) มาอธิบายโดยสังเขป


                       ทฤษฎีการสร้างสันติภาพ (Peace-making theory) เป็นแนวคิดด้านการบริหารงานยุติธรรม
               สมัยใหม่ เสนอโดย ฮารอล เป็ปพินสกี(Harold Pepinsky) และริชาร์ด ควินนีย์ (Richard Quinney) ซึ่งมอง

               ว่า การตรากฎหมายเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดหรือใช้วิธีการต่างๆมากมายเพื่อตอบโต้ต่อผู้ที่ก่ออาชญากรรม

               ทว่าสิ่งทีเกิดขึ้นจะเห็นได้ว่าอาชญากรรมไม่ได้ลดลงไป ความผิด การก่ออาชญากรรมยังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นให้เห็น

               อยู่สังคมเสมอมา ดังนั้น ทั้งสองจึงมีมุมมองว่าการรับมือกับอาชญากรรมด้วยกฎหมายเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่

               แนวทางที่ถูกต้อง เพราะไม่ได้แตะไปที่สาเหตุของปัญหา ซึ่งสาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดอาชญากรรมขึ้นก็คือความ

               ทุกข์ (Suffering) ซึ่งมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ทางด้านเศรษฐกิจ ความยากจน ความทุกข์ทางจิตใจการ

               แบ่งแยก การถูกเหยียดหยาม ว่าร้าย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่อาจนำไปสู่อาชญากรรมได้ ดังนั้น
               การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมด้วยกฎหมายและบทลงโทษเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีหาทางขจัดความทุกข์อันเป็น

               เหตุแห่งปัญหาไปพร้อมกันย่อมไม่อาจลดอาชญากรรมลงมาได้ ดังนั้น ทั้งคู่จึงเสนอให้ จัดการกับความทุกข์





                                                                                                       37
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43