Page 37 - 22353_Fulltext
P. 37
พฤติกรรมของผู้ที่มีความต่างกันให้ยอมรับซึ่งกันและกันได้ หรือเป็นการกระทำที่ทำให้คนสองคนหรือกลุ่มสอง
กลุ่มหรืออย่างน้อยสองกลุ่มกลับมาเป็นมิตรอีกครั้งหลังจากการโต้เถียงหรือไม่เห็นด้วย หรือการ “คืนดี”
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความสมานฉันท์นั้นอาจไม่ยากต่อความเข้าใจ แต่ในทางปฏิบัติแล้วกระบวนการสร้างความ
สมานฉันท์กลับมีความซับซ้อนและมีหลากหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายว่าจะไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ได้
อย่างไร
ในงานของ Marc Howard Ross เรื่อง Ritual and the Politics of Reconciliation ได้กล่าวถึง
กระบวนการสร้างความสมานฉันท์ว่าต้องประกอบด้วยหลากหลายกระบวนการ ไม่ใช่เพียงการมีกฎหมายที่ดี
หรือมีรัฐธรรมนูญที่ดีเท่านั้น แต่จำเป็นต้องพัฒนาสถาบันทางสังคมการเมืองขึ้นมาพร้อมกับแนวทางปฏิบัติ
เพราะการสร้างความสมานฉันท์นั้นไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของคุณธรรรมเท่านั้นแต่สามารถพัฒนาขึ้นมาอย่างเป็น
ระบบ (instrumental reconciliation) อีกทั้งยังมีพลวัตในทางปฏิบัติมากมายที่ต้องคำนึงถึง ดังนั้น ก่อนเข้าสู่
กระบวนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์นั้นจำเป็นต้องตอบคำถามให้ได้อย่างน้อยใน 4 ประเด็น เรื่องแรก
คือความหมายของการประนีประนอมและผู้ที่จะทำการประนีประนอม เรื่องที่สองการสร้างความปรองดอง
จำเป็นหรือไม่ เรื่องที่สามจะรู้ได้อย่างไรว่าการสร้างความปรองดองจะให้ผลที่ต่างออกไปจากที่คาดไว้ และ
สุดท้ายเป็นเรื่องกลไกและกระบวนการสร้างความสมานฉันท์
ในประเด็นแรกเรื่องความหมายของความสมานฉันท์ งานชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าความสมานฉันท์คือความ
พยายามเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีที่เคยขัดแย้งทั้งด้านอารมรณ์และการปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเชิง
บวกมากขึ้น เพื่อให้แต่ละคนสามารถจินตนาการถึงอนาคตร่วมกันได้ง่ายขึ้น โดยความสมานฉันท์นั้นเป็น
กระบวนการต่อเนื่องไม่ใช่สิ่งที่สามารถกระทำให้แล้วเสร็จได้เพียงครั้งเดียว งานชิ้นนี้แบ่งระดับของการสร้าง
ความสมานฉันท์เป็น 2 ระดับ คือ การประณีประนอมแบบเข้ม (strong version) และ การประนีประนอม
แบบอ่อน (weak version) โดยการประณีประนอมแบบเข้มนั้นเป็นการสร้างความสมานฉันท์กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง
กับความขัดแย้งทั้งหมดที่เคยเป็นมาทั้งในเรื่องความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและกลไกทุกด้าน
ส่วนการประณีประนอมแบบอ่อนนั้นเป็นความพยายามในการเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วน เพื่อให้เพียงพอที่จะ
สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มให้มีความสร้างสรรค์มากขึ้นและลดความรุนแรงลง
สำหรับประเด็นที่ว่าใครคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประนีประนอมบ้างนั้น งานชิ้นนี้แบ่งกลุ่มผู้เกี่ยวข้องไว้
อย่างน่าสนใจคือ คนภายในกลุ่มและคนภายนอกกลุ่ม โดยชี้ให้เห็นว่าการแข่งขันกันระหว่างคนภายในกลุ่มก็
เป็นปัจจัยที่ไม่อาจละเลยได้ และบางครั้งก็มีความรุนแรงมากกว่าการแข่งขันกันกับคนภายนอกหรือระหว่าง
กลุ่ม ในแง่นี้จึงมองได้ว่า การสร้างความสมานฉันท์ไม่อาจละเลยพลวัตรภายในกลุ่มได้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มไปพร้อมกัน ไม่อาจละเลยความขัดแย้งที่
เกิดเป็นพลวัตรภายในกลุ่มและมุ่งขจัดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเพียงอย่างเดียว
36