Page 32 - 22353_Fulltext
P. 32

มีการอภิปรายความเห็นกันอย่างเป็นมิตรบนหลักการหลักฐานและข้อเท็จจริงต่อไป สิ่งที่ผู้อำนวยการประชุม

               จะต้องเน้นย้ำเสมอคือการมองอดีตเป็นบทเรียน มีจุดยืนในการเปิดใจรับฟังและเคารพความแตกต่างทาง

               ความคิดของผู้อื่น ที่สำคัญคือต้องไม่กดดันให้ผู้เข้าร่วมหาหนทางแก้ไขให้จงได้หรือพยายามกำกับผู้เข้าร่วม

               เสวนามากเกินไป เพราะมิเช่นนั้นอาจเกิดปัญหาขึ้นมาได้ ดังที่ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ (2557 หน้า 82) ได้ชี้
               ชวนให้ผู้อำนวยการประชุมเสวนาระมัดระวังว่าไม่ควรกังวลมากเกินไปว่าผู้เข้าร่วมการเสวนาจะทำให้

               กระบวนการเสวนาหาทางออกเสียหายไม่เป็นไปตามเป้าหมาย กระทั่งวางกฎกติกาและเคร่งครัดกับกฎกติกา

               อย่างเข้มงวดและแทรกแซงในทุกๆกรณี ซึ่งการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นผลดีทั้งยังเป็นการสกัดกั้นปฏิสัมพันธ์อันดี

               ระหว่างผู้เข้าร่วมการเสวนาเพราะไม่มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น เทคนิคที่

               สำคัญในช่วงนี้คือ การสร้างบรรยากาศให้รู้สึกเป็นกันเอง เสมอภาค กระตุ้นให้ผู้ร่วมประชาเสวนาเกิด
               ความรู้สึกอยากแสดงความคิดเห็น โดยผู้อำนวยการประชาเสวนาอาจเริ่มต้นจากการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม

               เสวนา แนะนำตนเองและทีมงานก่อน จากนั้น ให้ผู้เข้าร่วมแนะนำตนเองเพื่อสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง

               ซึ่งจะช่วยให้เกิดบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนมมากขึ้น


                       6.การนำเสนอผลการระดมความเห็นกลุ่มย่อยสู่กลุ่มใหญ่


                       ภายหลังจากการเสวนาร่วมกันในการประชุมกลุ่มย่อยแล้ว ผู้เข้าร่วมเสวนากลุ่มย่อยจะได้รับโอกาสให้

               นำเอาข้อสรุปที่ได้ไปนำเสนอในที่ประชุมใหญ่และแลกเปลี่ยนกับสมาชิกกลุ่มอื่นๆเพื่อทบทวนประเด็นต่างๆ
               ร่วมกันว่ามีประเด็นใดบ้างที่แต่ละกลุ่มมีเหมือนกันหรือต่างกันเพราะอะไร ซึ่งการนำข้อสรุปที่ได้จากเวทีย่อย

               มานำเสนอในเวทีใหญ่นั้นนับเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้เกิดการเปิดมุมมองที่แตกต่างหลากหลาย

               นำไปสู่การปรึกษาหารือร่วมกันในประเด็นที่ขยายวงกว้างขึ้น และยกระดับจากมติของกลุ่มย่อยไปสู่ฉันทามติ

               ของผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มใหญ่ทั้งหมด เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เกิดการเสวนาร่วมกัน

               ในประเด็นอื่นๆต่อไปในอนาคต

                       การนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นจากกลุ่มย่อยสู่กลุ่มใหญ่นั้น ผู้อำนวยการประชุมเสวนาก็ยังคงมี

               บทบาทสำคัญ ในที่นี้ผู้อำนวยการประชุมพร้อมทีมจะต้องฟังอย่างตั้งใจ และรักษากติกาในเรื่องการนำเสนอ

               ด้วยสุนทรียะสนทนา และยัดหลักฉันทามติของกลุ่มเป็นหลัก ไม่ใช่เน้นนำเสนอความคิดเห็นส่วนบุคคล

               พร้อมทั้งนำกระบวนการเสวนาให้เกิดการอภิปรายแลกเปลี่ยนแล้วจดประเด็นข้อสังเกตต่างๆที่เกิดขึ้นจากเวที

               ไว้ทุกประเด็นแล้วแสดงให้ทุกฝ่ายได้เห็นไปพร้อมกัน เพื่อนำไปสู่การหาข้อสรุปร่วมกันของผู้เข้าร่วมประชุม

               เสวนา โดยระหว่างการหาฉันทามตินั้นผู้อำนวยการประชุมเสวนาอาจช่วยจัดกลุ่มประเด็นอย่างมีส่วนร่วมกับ

               ผู้เข้าร่วมเสวนาได้เพื่อรวมประเด็นที่มีความสอดคล้องเข้าไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการตัด
               ข้อเสนอบางอย่างออกไป แต่เป็นการรวมบรรดาข้อเสนอเข้าไว้ในหมวดหมู่เดียวกันในฐานะประเด็นย่อยใน

               ประเด็นใหญ่อีกชั้น เป็นต้น





                                                                                                       31
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37