Page 35 - 22353_Fulltext
P. 35
ดังกรณีที่ เดวิด แมทธิวส์ (2552) ได้ชี้ให้เห็นในงานที่ชื่อว่าการเมืองภาคพลเมือง ค้นหาเสียง
สาธารณะชนที่มีความรับผิดชอบ ว่าความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมของพลเมืองไม่ได้เกิดขึ้นจากเพียงการ
ส่งเสริมการศึกษาเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญคือมีเวทีที่พลเมืองเหล่านี้จะได้แสดงออกมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงหรือไม่
ซึ่งเป็นเวทีที่เสียงของพวกเขาจะได้รับการรับฟังอย่างแท้จริง เป็นเสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีคนได้ยิน และได้รับ
การตอบสนองจากสังคมและหน่วยงานที่มีอำนาจในสังคม ไม่เช่นนั้นแม้จะส่งเสริมการศึกษาสำหรับพลเมืองไป
มากเท่าใด แต่สุดท้ายหากในความเป็นจริงไม่มีพื้นที่ให้พวกเขาได้เปล่งเสียงอย่างมีพลัง สุดท้ายความเฉื่อยชา
ทางการเมืองก็จะเข้ามาแทนที่ และส่งผลต่อจำนวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในสังคมภาพรวม ดังที่เขาได้
ยกตัวอย่างเรื่องจำนวนของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่ลดลงไปเรื่อยๆ โดยให้เหตุผลว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าพลเมือง
อเมริกันรู้สึกว่าเสียงของพวกเขาไปไม่ถึงผู้แทนและไม่มีประโยชน์อันใดที่พวกเขาจะไปเลือกตั้งเพราะการ
เลือกตั้งของพวกเขาไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้
สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า (2559) ชี้ให้เห็นว่า ความเป็นพลเมือง ต้อง
ประกอบด้วย ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) ทัศนคติ (attitude) สามสิ่งนี้มีความสำคัญมากต่อการศึกษา
สำหรับพลเมืองเรียกโดยรวมว่าการศึกษาสำหรับพลเมือง (civic education) การศึกษาสำหรับพลเมืองที่ดีที่
จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงไม่อาจขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ ไม่เช่นนั้นจะไม่อาจนับได้ว่าเป็นพลเมืองที่สมบูรณ์ผู้ที่
พร้อมจะเป็นพละกำลังให้แก่ประเทศชาติ แน่นอนว่าการเป็นพลเมืองของรัฐหรือประเทศหนึ่งๆจุดตั้งต้นสำคัญ
อยู่ที่การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดที่
อาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสังคมได้ อย่างไรก็ตาม การมีความรู้เพียงอย่างเดียวไม่เพียง
พอที่จะทำให้บุคคลแสดงออกมาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข้าไปมีส่วนร่วม
ทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีทักษะในการแสดงออกอย่างเหมาะสมในระบอบ
ประชาธิปไตยด้วย สุดท้ายคือเรื่องของทัศนคติการที่บุคคลหนึ่งจะพร้อมแสดงพลังเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง
ได้บุคคลนั้นจะต้องมีทัศนคติที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและตระหนักในศักยภาพของตนเองในการสร้างความ
เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเรื่องนี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากผู้นั้นไม่ได้มีทัศนคติต่อเรื่องดังกล่าวอย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้
การศึกษาสำหรับพลเมือง (civic education) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในกรณีของการแก้ไขปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงที่
มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องนั้น การเสริมสร้างพลังพลเมืองให้ตระหนักถึงศักยภาพของตนในการเป็นส่วนหนึ่ง
เพื่อร่วมแก้ไขปัญหานี้คือสิ่งสำคัญ เพราะปัญหาส่วนหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ต้องตกอยู่ในวงเวียนของการซื้อ
สิทธิขายเสียงก็คือไม่ตระหนักว่าพวกตนมีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร การสร้าง
ความตระหนักรู้ดังกล่าวให้เกิดขึ้นจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวอย่าง
ถูกต้อง จากนั้นเสริมทักษะการแสดงออกอย่างเหมาะสม โดยอาจเปิดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นให้แก่ผู้มี
สิทธิเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้เกิดการรณรงค์หรือรวมกลุ่ม เป็นต้น พร้อมๆกับสร้างทัศนคติให้เล็งเห็น
34