Page 31 - 22353_Fulltext
P. 31
การชั่งน้ำหนักระวห่างผลได้กับต้นทุนในทางเลือกเดิม เราจะต้องตัดสินใจสานเสวนาหาทางออกเพื่อตัดสินใจ
ว่าจะทำอย่างไรในวิถีทางที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดต่อเรา โดยใช้คำถามว่าเราควรจะทำ
อย่างไรเพื่อเผชิญหน้ากับโจทย์และทางเลือกยากๆ การประชาเสวนาจะพาเราไปค้นหาความจริงที่สำคัญและ
มากกว่านั้นมันจะเป็นทางออกที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนใดที่จะบอกเราได้ แต่เราต้องหารือร่วมกันและบอกด้วย
ตัวเอง (วันชัย วัฒนศัพท์ 2557 หน้า 60)
5.การเปิดเวทีย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็น
ในการสานเสวนาหาทางออกที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการแบ่งกลุ่มเสวนาย่อยๆออกไปเพื่อให้
ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างทั่วถึง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ทว่าก่อนปล่อยให้ผู้ที่เข้าร่วม
เสวนาแยกกลุ่มเพื่อพูดคุยกันในรายละเอียด ผู้อำนวยการประชุมจะต้องชี้แจงประเด็นที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วม
ประชุมเสวนาเข้าใจร่วมกันเสียก่อน โดยประเด็นคำถามแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือคำถามเชิงสร้างสรรค์
เกี่ยวกับมุมมองในอนาคตที่ผู้เข้าร่วมเสวนาอยากเห็นหรืออยากให้เกิดขึ้น ส่วนที่สองเป็นคำถามเกี่ยวกับ
แนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายในอนาคตที่พวกเขาต้องการ โดยก่อนแบ่งกลุ่มย่อยผู้อำนวยการประชุมต้องชี้แจง
ประเด็นที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมเสวนาหารือตามลำดับ กล่าวคือ เริ่มต้นจากประเด็นคำถามเชิงสร้างสรรค์ถึง
อนาคตก่อนในการเสวนาช่วงเช้า จากนั้นจึงเป็นการเสวนาเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายใน
อนาคตที่พวกเขาต้องการซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงบ่าย
ภายหลังจากทำความเข้าใจประเด็นคำถามหรือโจทย์ในการเสวนาร่วมกันแล้ว สิ่งสำคัญต่อไปที่
ผู้อำนวยการประชุมจะต้องทำคือการชี้แจงกติกาในการเสวนาให้ชัดเจนว่า พวกเขาต้องเสวนาร่วมกันอย่างไร
ภายใต้กติกาใด และเมื่อสิ้นสุดการประชุมกลุ่มย่อยแล้วจะต้องได้อะไร กล่าวคือ ผู้อำนวยการประชุมเสวนา
จะต้องแจ้งและย้ำกติกาในการสานเสวนาเสมอว่าเป็นการเสวนาที่ยึดหลักการฟังอย่างตั้งใจ สุนทรียะสนทนา
และหลักฉันทามติในการเสวนาร่วมกันเพื่อให้ได้ฉันทามติกลุ่มย่อยอย่างน้อย 3 ข้อ ในแต่ละประเด็นเพื่อนำมา
เสนอในเวทีใหญ่ภายในระยะเวลากี่นาที เมื่อได้ชี้แจงประเด็นเหล่านี้อย่างครบถ้วนแล้วจึงสามารถเปิดเวทีย่อย
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ โดยที่ผู้อำนวยการประชุมกลุ่มย่อยก็จำเป็นต้องยึดหลักการเสวนาดังกล่าวให้
มั่นเช่นเดียวกัน
แน่นอนว่าในการเสวนากลุ่มย่อยนั้นอาจเกิดสถานการณ์ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้
เสวนาต่างให้ความสนใจและร่วมแสดงความเห็นกันอย่างคึกคักเต็มที่ หรือการที่ผู้เสวนาไม่แสดงความเห็น
เท่าใดนัก หรือการที่มีผู้เสวนาบางคนครอบงำการสนทนาและแสดงความเห็นฝ่ายเดียว เป็นต้น ดังนั้น เทคนิค
หนึ่งที่มีความสำคัญคือการสร้างบรรยากาศในการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมไม่มีใคร
ที่อยู่เหนือกว่าใคร และเปิดโอกาสให้แก่ผู้เข้าร่วมเสวนาทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง การสร้าง
บรรยากาศประการหนึ่งคือการไม่ตัดสินถูกผิด แต่รับฟังและเห็นว่าทุกความคิดเห็นมีคุณค่า จากนั้น จึงเปิดให้
30