Page 26 - 22353_Fulltext
P. 26

2. ผู้ร่วมสานเสวนา (Participants)


                      ผู้เข้าร่วมเสวนาคือกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะพวกเขาคือบุคคลที่จะทำการแลกเปลี่ยน

               และให้ข้อมูลต่างๆ คนกลุ่มนี้จึงควรครอบคลุมทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด แต่ไม่ควรมีจำนวนมากเกินไปต่อ
               ครั้ง เพราะจำนวนคนที่มากเกินไปนั้น ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนที่น้อยลงและไม่ทั่วถึงทั้งยังไม่

               ลึกซึ้งในรายละเอียด ทำให้สุดท้ายแล้วอาจไม่สามารถระบุปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริงได้ อันที่จริงใน

               จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมดอาจมีการแบ่งกลุ่มย่อยออกไปอีกเพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นได้

               อย่างเต็มที่


                      3. หัวข้อสานเสวนาหรือประเด็น (Issues)


                      หัวข้อในการเสวนาที่ดีและดึงดูดนั้นควรเป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของผู้ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการ

               เสวนา การที่ผู้จัดมีการศึกษาและวิจัยหัวข้อที่อยู่ในความสนใจก่อนล่วงหน้ามาในรายละเอียด อาจเป็นอีก
               หนทางหนึ่งที่จะช่วยให้การเสวนามีขอบเขตที่ชัดเจน เพราะก่อนการเสวนานั้นผู้เข้าร่วมการสานเสวนาควรมี

               สิทธิรับทราบเนื้อหาและขอบเขตที่จะหารือกันเสียก่อนเป็นเบื้องต้น เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าพวกเขาสนใจ

               และพร้อมที่จะเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อดังกล่าวหรือไม่ อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่อการ

               เตรียมข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นที่เข้าร่วมเสวนาอีกด้วย


                      อนึ่ง ในการกำหนดหัวข้อเพื่อใช้สานเสวนาหาทางออกนั้น ข้อพึงระวังคือไม่ควรเป็นหัวข้อที่มุ่งจับผิด
               หรือย้อนอดีต แต่ควรเป็นหัวข้อที่มุ่งมองไปในอนาคตร่วมกัน ชี้ชวนให้ผู้เข้าร่วมมองหาอนาคตที่มีความเป็นไป

               ได้โดยใช้อดีตเป็นบทเรียน และควรหลีกเลี่ยงการตั้งหัวข้อที่เป็นการแสดงจุดยืนเพราะอาจนำมาสู่การถกเถียง

               กันอย่างไม่รู้จบ ตัวอย่างหัวข้อ อาทิ เราจะจัดการเมืองของเราเพื่อส่งต่อแก่ลูกหลานอย่างไร เราจะแก้ไขปัญหา

               ขยะเพื่อเมืองที่น่าอยู่อย่างไร หรือเราจะสร้างเมืองของเราให้น่าอยู่ได้อย่างไร เป็นต้น


                      4. ฉากทัศน์ (scenario)


                      ฉากทัศน์ ในที่นี้หมายถึง ตัวอย่างของเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งผู้จัดจำลองขึ้นมาจากข้อมูลที่เก็บ
               รวบรวมและทำการศึกษาวิจัย เพื่อนำมาใช้ชี้ให้ผู้เข้าร่วมสานเสวนาได้มองเห็นภาพของสิ่งที่อาจเกิดขึ้นใน

               อนาคตหากมีการกระทำบางอย่างเกิดขึ้นหรือไม่มีการกระทำบางอย่างเกิดขึ้น เพื่อชวนให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้คิด

               ทบทวนและพิจารณาว่าจะเลือกทางออกเช่นใด โดยฉากทัศน์ที่วิทยากรกระบวนการจะนำมาเสนอนั้นจำเป็น

               อย่างยิ่งที่จะต้องมีอย่างน้อย 3 ทางเลือก เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากฉากทัศน์ที่เสนอมีเพียง 2

               ทางเลือก อาจเกิดกรณีของการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและเอาแพ้ชนะกันได้ จึงควรมีทางเลือกอย่างน้อย 3 ทางเลือก
               กระนั้น แม้จะมีฉากทัศน์ให้ผู้เข้าร่วมสานเสวนาได้คิดและพิจารณาแล้ว ทว่านั้นไม่ได้หมายถึงผู้เข้าร่วมเสวนา

               จะต้องพิจารณาเลือกจากฉากทัศน์ที่ผู้จัดเตรียมไว้หรือเสนอขึ้นมาเท่านั้น สิทธิในการตัดสินใจและพิจารณา





                                                                                                       25
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31