Page 21 - 22353_Fulltext
P. 21

จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้น มีหลักการสำคัญอยู่ที่การจัดให้มีพื้นที่ที่

               ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีการระดมความเห็น เคารพและรับฟังความเห็นที่แตกต่าง

               หลากหลายและตัดสินใจร่วมกันบนหลักของเหตุและผล ซึ่งจะต่างออกไปจากการมีส่วนร่วมแบบประเพณีนิยม

               (conventional citizen involvement) ในรูปแบบของประชาพิจารณ์ การตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา
               คณะกรรมการประชาชน หรือคณะทำงานต่างๆ ทั้งนี้เพราะเป้าหมายของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้น

               เน้นไปที่การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางบนฐานของหลักฐานข้อมูล ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้แสดงความคิดเห็น

               เพื่อหาทางออกร่วมกันเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีหลากหลายวิธีการที่ได้รับการเสนอ

               ขึ้นมาเพื่อเป็นหนึ่งในกระบวนการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ อาทิ การจัดเวทีเปิด (open

               forum) การตั้งคณะลูกขุนของประชาชน (citizens’ juries) และการจัดเวทีสานเสวนาหาทางออก
               (deliberation) เป็นต้น


                       แม้แต่ละกิจกรรมจะมีเป้าหลักหมายคือมุ่งเน้นไปที่การแสวงหาพื้นที่เปิดเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามา

               แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่ทุกฝ่ายสนใจเพื่อหาทางออกร่วมกัน อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างกันใน

               กระบวนการเล็กน้อย กล่าวคือ ขณะที่ การจัดเวทีเปิด (open forum) นั้นมีความหมายที่กว้างที่สุดมีลักษณะ

               ที่ขึ้นอยู่กับบริบทและผู้พูด เพราะคำว่า "forum" มาจากภาษาละตินโดยตรง ในสมัยโรมัน ฟอรัมนี้เป็นตลาด

               เปิดที่ผู้คนสามารถซื้อสินค้าและได้มีการพูดคุยกับพลเมืองคนอื่น ๆ และพยายามบรรลุข้อตกลงในเรื่องที่เป็น
               สาธารณประโยชน์ร่วมกัน ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายพื้นที่ใด ๆ ที่ผู้คนอาจแลกเปลี่ยนข้อมูลและ

               ความคิดกันได้ โดยอาจจะเป็นวงกว้างหรือวงที่แคบลงมาในลักษณะของการประชุมที่ภาครัฐเข้าร่วมด้วยก็ได้

               ขณะที่ การตั้งคณะลูกขุนของประชาชน (citizens’ juries) นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อสร้างความสมดุลทางของ

               ข้อมูลก่อนนำไปสู่การตัดสินโดยเชิญพยานจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมให้ข้อมูลและลงคะแนน ส่วนการ

               สานเสวนาหาทางออก (deliberation) นั้น มีลักษณะคล้ายเวทีเปิดแต่ต่างกันที่จะมีผู้ดำเนินการเสวนาซึ่งเป็น

               ผู้ที่ได้รับการอบรมมาเพื่อสร้างบรรยากาศในการพูดคุยไม่ให้เกิดความขัดแย้ง การพูดคุยเป็นไปตามกติกา
               จัดสรรการพูดคุยให้ทุกฝ่ายได้แสดงความเห็นอย่างทั่วถึงเท่าเทียมเพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายมากที่สุด

               เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาทางออกที่เหมาะสมที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันต่อไปตามกระบวนการฉันทามติ


                       กล่าวได้ว่าความแตกต่างอย่างสำคัญระหว่าง การจัดเวทีเปิด (open forum) กับการจัดเวทีประชา

               เสวนา (citizen dialogue) อยู่ที่เรื่องของการวางกฎกติกาที่ชัดเจนในการแสดงความคิดเห็น การรับฟังซึ่งกัน

               และกันอย่างเคร่งครัด สิ่งที่สำคัญคือ ในการประชาเสวนานั้นไม่ใช่การโต้วาที (debate) และต้องยึดหลักการ
               ฟังอย่างตั้งใจ ขณะที่ การจัดเวทีเปิดนั้นอาจไม่มีการกำหนดกติกาในการแสดงความคิดเห็นอย่างสุนทรียะ

               สนทนาอย่างเคร่งครัดไม่เน้นหลักการฟังอย่างตั้งใจที่มุ่งแสวงหาจุดร่วมไม่ใช่จุดต่างจึงอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง

               ที่พึงระวัง






                                                                                                       20
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26