Page 17 - 22353_Fulltext
P. 17

จำนวนมาก จึงอาจมีปัญหาเรื่องความสิ้นเปลือง และความล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้

               ประชาธิปไตยได้รับการพัฒนาต่อมาจากประชาธิปไตยทางตรงเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน (วันชัย วัฒน

               ศัพท์, 2557 หน้า 109; วิสุทธิ์ โพธิแท่น, 2550 หน้า 3)

                       จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยมีหลายรูปแบบและแต่ละรูปแบบก็ต่างมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน

               และได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นประชาธิปไตยแต่ละรูปแบบก็จะมีความ

               เหมาะสมกับบางสถานการณ์ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปรูปแบบประชาธิปไตยก็จำเป็นต้องได้รับการ

               พัฒนาให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงและปัญหาใหม่ๆที่กำลังเกิดขึ้นด้วย ดังที่ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ (2557

               หน้า 32) ได้ชี้ให้เห็นว่า “ไม่มีประชาธิปไตยใดที่สมบูรณ์แบบและเสร็จสมบูรณ์ ประชาธิปไตยมีความซับซ้อน

               และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จากเหตุการณ์หรือกระบวนการต่างๆที่เข้าไปกระทบ”

                       ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปประชากรเพิ่มมากขึ้น การปกครองประชาธิปไตยแบบกรีกหรือ

               ประชาธิปไตยทางตรงจึงไม่สอดคล้องกับสภาพของสังคมปัจจุบัน ส่งผลให้ประชาธิปไตยแบบตัวแทนได้รับการ

               พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้การเลือกตั้งและสภาเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหา ทว่าเมื่อ

               ประชาธิปไตยแบบตัวแทนเริ่มใช้กลับปรากฎว่าได้นำมาสู่ปัญหาอื่นๆ อาทิ การได้มาซึ่งผู้แทนที่ไม่เป็นธรรม

               เข้ามาสู่ตำแหน่งด้วยทรัพย์สินเงินทองไม่ใช่ความสามารถ (เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2551) ส่งผลให้ปัญหาหลาย

               ประการของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้รับการแก้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมากเบื่อหน่าย
               ต่อการเลือกตั้งและมองว่าการเมืองเป็นเรื่องไกลตัว ดังจะเห็นได้จากจำนวนของผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งที่ลดลงไป

               อย่างต่อเนื่อง (เดวิด แมทธิวส์, 2552) งานของ Robert Putnam เรื่อง Blowing Alone (2000) ได้ชี้ให้เห็น

               ไปในทิศทางเดียวกันว่าปัจจุบันชาวอเมริกันไม่ใคร่สนใจการเมืองในการเลือกตั้งมากนัก แตกต่างจากอดีตที่ชาว

               อเมริกันสนใจการเลือกตั้งอย่างคึกคักอันเป็นต้นทุนสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของอเมริกันในเวลา

               ต่อมา (ประภาส ปิ่นตบแต่ง, 2560)

                       ด้วยเหตุนี้ ในเวลาต่อมาจึงเห็นได้ว่ามีความพยายามจากนักวิชาการและผู้ปกครองหลายฝ่ายในการ

               คิดค้นแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยขึ้นมา เพื่อลดปัญหาการได้มาซึ่งผู้แทนที่ไม่มีคุณภาพ ปัญหาการทุจริต

               ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและประชาชนในการปกครองตนเอง ประชาธิปไตยทางตรง

               (direct democracy) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาปรับใช้เพื่อเสริมให้การเลือกตั้งและประชาธิปไตยแบบ

               ผู้แทนมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น มีการเปิดช่องทางเรื่องการเสนอกฎหมายและการ

               ถอดถอดนักการเมืองและข้าราชการได้โดยประชาชน รวมไปถึงการทำประชาพิจารณ์ต่อประเด็นนโยบาย

               สาธารณะต่างๆ เป็นต้น

                       ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy) ก็เป็นประชาธิปไตยอีกรูปแบบหนึ่งที่

               ได้รับการกล่าวถึงในแง่ที่จะเข้ามาเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย โดยประชาธิปไตยรูปแบบนี้จะต่างออกไปจาก




                                                                                                       16
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22