Page 12 - 22353_Fulltext
P. 12

ผลักดันให้เกิดการเลือกตั้งสมานฉันท์ขึ้น กรณีตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่าการเมืองท้องถิ่น

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ และสุดท้ายผลประโยชน์ก็ไม่ได้ตกอยู่ที่ใคร

               แต่ตกอยู่ที่คนในชุมชนเอง

                       ด้วยเหตุนี้ สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง จึงได้จัดทำโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ

               ขายเสียงขึ้น ประจำปีงบประมาณ 2564 ในจังหวัดชัยภูมิ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยแบบ

               ตัวแทนและการมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งผ่านการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

               ภายใต้คำถามวิจัยว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และกระบวนการสานเสวนาหาทางออก จะสามารถ

               ส่งเสริมประชาธิปไตยแบบผู้แทนในการลดการซื้อสิทธิขายเสียง เพิ่มส่วนร่วมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเพิ่ม

               ความสมานฉันท์ในชุมชนภายหลังการเลือกตั้งได้หรือไม่อย่างไร

               วัตถุประสงค์

                   1.  เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ และการ

                       สานเสวนาหาทางออก

                   2.  เพื่อนำแนวคิดหลักการวิธีการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสานเสวนาหาทางออก

                       ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
                   3.  เพื่อพัฒนาผลการศึกษาและแนวทางการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงให้เป็นข้อเสนอเชิง

                       นโยบาย


               ขอบเขตการวิจัย

                       ขอบเขตด้านพื้นที่

                       โครงการวิจัยเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนี้เลือกดำเนินการในจังหวัดชัยภูมิ เนื่องจาก

               เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านเครือข่ายทั้งในส่วนของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานด้านการศึกษา โดยเลือก

               ดำเนินการในการเลือกตั้งท้องถิ่น 2 ระดับ คือ ระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัดและระดับเทศบาล โดยใน

               ระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเน้นดำเนินการกับการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ครอบคลุม 16
               อำเภอของจังหวัดชัยภูมิ ส่วนในระดับเทศบาล เน้นดำเนินการเฉพาะการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองชัยภูมิ


               ครอบคลุม 25 ชุมชนในเขตเทศบาลเมือง


                       ขอบเขตด้านประชากร

                       ในที่นี้แบ่งออกเป็นประชากรออกเป็น ประชากรในส่วนของการปฏิบัติโครงการและประชากรในส่วน

               ของการประเมินผลโครงการ โดยในส่วนของการปฏิบัติโครงการ ในการเลือกตั้งระดับองค์การบริหารส่วน
               จังหวัด ประชากรจะครอบคลุมผู้สมัครนายก อบจ. ทุกคน และตัวแทนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจาก 16

               อำเภอในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 8 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนภาค



                                                                                                       11
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17