Page 9 - 22353_Fulltext
P. 9
นอกจากนั้น ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้การเลือกตั้งยังคงมีการซื้อสิทธิขายเสียงเกิดขึ้นและนำมาสู่
ความขัดแย้งก็คือที่ผ่านมาในกระบวนการก่อนการเลือกตั้งนั้นมักเป็นไปในรูปแบบของการหาเสียงของผู้สมัคร
เป็นหลัก และโดยที่การหาเสียงก็มักจะเป็นไปในรูปแบบของการโต้วาที (debate) หรือการดีเบตระหว่าง
ผู้สมัคร ซึ่งการดีเบตนั้นแม้ว่าโดยเป้าหมายจะปรารถนาดีเพื่อให้ผู้สมัครได้แสดงความเห็นกับผู้มีสิทธิได้
มากกว่าการเดินหาเสียงที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีโอกาสพบผู้สมัครเพียงไม่กี่นาที กระนั้น ด้วยวิธีการดีเบตก็ไม่อาจ
ประสานประโยชน์ได้ และสุดท้ายมักนำมาสู่ความขัดแย้งได้ ยกตัวอย่างการหาเสียงด้วยการดีเบตของผู้สมัคร
ประธานาธิบดีในประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งล่าสุดในการเลือกตั้งปี 2563 ที่สุดท้ายแม้จะได้มาซึ่งประธานาธิบดี
ที่มีนโยบายโดนใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครต่างพรรคการเมืองกลับมีความขัดแย้ง
เกิดขึ้นกระทั่งนำไปสู่สภาวการณ์รุนแรงจากฝ่ายสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump)
ที่บุกไปทำลายอาคารรัฐสภา (BBC News 2000)
ที่ผ่านมาเมื่อถึงฤดูกาลเลือกตั้งภาคประชาชนมักจะไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีบทบาทมากนัก บทบาท
ของภาคประชาชนที่ผ่านมาคือรับฟังเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงจึงตามมา ทั้งนี้เพราะ
เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่ค่อยได้เจอกันและโอกาสในการนำเสนอนโยบายอย่างจริงจังแบบที่มีการซักถามหรือเพิ่มเติม
ความต้องการระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีน้อย การเลือกผู้แทนจึงกลายเป็นการพิจารณาจากประเด็น
ความสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นญาติ เป็นเพื่อน บุญคุณ หรือแม้แต่สินน้ำใจต่างๆ และเมื่อปัจจัย
เหล่านี้เข้ามามีบทบาทมากกว่าความรู้ความสามารถและนโยบายที่จะมีต่อชุมชนแล้ว การแข่งขันกันหาเสียง
ระหว่างผู้สมัครจึงรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องมีค่าใช้จ่ายเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสร้างพลัง
ต่อรองในการตัดสินใจ ทั้งนี้เพราะแม้ไม่อาจรับรองได้ว่าการให้ทรัพย์สินเงินทองจะส่งผลต่อชัยชนะ แต่ว่าเรื่อง
นี้ได้กลายเป็นวัฒนธรรมที่ผู้สมัครจะ “ต้องให้” ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพื่อเป็น “สินน้ำใจ” ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ซึ่งการได้มาซึ่งตำแหน่งที่มีลักษณะของการแลกเปลี่ยนเช่นนี้ ส่งผลต่อความรู้สึกไม่ผูกพันระหว่างผู้สมัครและผู้
มีสิทธิเลือกตั้ง เพราะไม่ได้เข้ามาด้วยนโยบายที่ทุกฝ่ายต่างเห็นร่วมกันว่าจะช่วยกันขับเคลื่อนตั้งแต่แรก จึง
ส่งผลกระทบโดยตรงกับความรู้สึก “รับผิดชอบร่วมกัน” ระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
อันจะนำไปสู่การติดตามการทำงานระหว่างกันภายหลังการเลือกตั้ง และกระทบกับการแสดงออกซึ่งสิทธิ
พลเมืองในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชิปไตยและการพัฒนาประชาธิปไตยในภาพรวม
นอกจากนั้น ผลการศึกษาหลายชิ้นก็ชี้ให้เห็นในทิศทางเดียวกันว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการซื้อสิทธิ
ขายเสียงกับความรู้ความสามารถของผู้แทน คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน อาทิ
งานวิจัยของอารียา ศรีคําภา (2548) เรื่องอุปสรรคในการแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงของคณะกรรมการการ
เลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ และงานของ Floyd Hunter (1953) ชี้ให้เห็นในประเด็นเดียวกันถึงอิทธิพลของการ
ใช้เงินว่าจะส่งผลให้นักธุรกิจหรือผู้นำทางเศรษฐกิจสามารถควบคุมผู้ปกครองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในชุมชน
ได้ส่งผลให้เกิดการผูกขาดการตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยที่ศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ภาคเอกชนไม่ใช่ภาครัฐ เป็นต้น
8