Page 11 - 22353_Fulltext
P. 11

ท้องถิ่น เมื่อครั้งที่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นและอดีตนายกอบต. เล็งเห็นถึงความสามารถและความสนใจของตนจึง

               ได้ทาบทามให้ตนลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนั้น ซึ่งต้องแข่งขันกับผู้สมัครคนอื่น อย่างไรก็ตาม ตนได้ตั้งปณิธาน

               เอาไว้แล้วว่าจะไม่ซื้อเสียงเด็ดขาด การหาเสียงทำไปโดยยึดนโยบายเป็นหลัก กับผู้สมัครคนอื่นนั้นก็ไม่ได้มอง

               ว่าเป็นผู้แข่งขันแต่มองว่าเป็นผู้ที่มีความตั้งใจจะเข้ามาพัฒนาชุมชนร่วมกัน ทำให้การหาเสียงเป็นไปโดยถ้อยที
               ถ้อยอาศัย ยกตัวอย่างเช่น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการระหว่างผู้สมัครคนอื่นเกี่ยวกับพื้นที่หาเสียงว่าได้ไปหา

               เสียงในพื้นที่นั้นๆหรือยัง หรือในเรื่องของพื้นที่ติดป้ายหาเสียงซึ่งเรียกว่ามุมดีเป็นมุมที่ผู้คนสัญจรไปมาจะ

               สามารถมองเห็นป้ายได้อย่างชัดเจน ก็มีการแบ่งปันพื้นที่การวางป้ายหาเสียงกัน ต่อเมื่อรู้ผลว่าฝ่ายตนเป็นฝ่าย

               ชนะ ตนก็ได้โทรไปหาผู้สมัครคนอื่น ซึ่งทางนั้นก็ยินดีด้วยและบอกว่าขอให้ตั้งใจทำงานหากมีอะไรให้ช่วย

               ก็พร้อมให้ความร่วมมือ กรณีของนายกสุรกิจนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกรณีตัวอย่างของชุมชนที่สามารถมีความ
               เข้มแข็งได้จากการส่งเสริมการเมืองสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง โดยเงื่อนไขปัจจัยหลักเริ่มต้นจากตัว

               ผู้นำชุมชนเอง ซึ่งแตกต่างออกไปจาก อบต.น้ำเกี๋ยน จังหวัดน่าน ที่ขับเคลื่อนมาจากคนในชุมชนในนามของ

               ผู้นำรวมหมู่เป็นหลัก


                       กรณีของตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง

               การเมืองท้องถิ่นสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง ความน่าสนใจของพื้นที่นี้อยู่ที่กระบวนการในการสร้าง

               ความตระหนักรู้ให้กับทางผู้นำท้องที่ท้องถิ่นและคนในชุมชน เพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
               ความสำคัญของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย การเมืองท้องถิ่น การลดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย และสร้าง

               กระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลให้แก่คนในชุมชนทุกๆฝ่ายผ่านการสร้าง “โรงเรียนผู้นำ” ขึ้นมา ซึ่งวิธีการ

               เช่นนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนหรือช่วยให้ผู้นำในชุมชนที่อาจไม่พอใจกันมาก่อนได้ปรับ

               ความเข้าใจกันเท่านั้น แต่ยังได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของคนในชุมชนด้วย กล่าวคือได้มีการตั้งกติกาของ

               ชุมชนขึ้นมากำหนดให้ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งจะต้องผ่านโรงเรียนผู้นำมาก่อนเพื่อให้พวกเขาได้ทราบว่า

               จะต้องมีปฏิบัติการอย่างไรเพื่อพัฒนาตำบลและเพื่อนำชุมชนไปสู่ความสมานฉันท์ ส่งผลให้ในเวลาต่อมาใน
               ตำบลควนรูไม่มีการแข่งขันเลือกตั้งอีกเพราะจะใช้การเจรจาพูดคุยกันถึงความเหมาะสมระหว่างผู้สมัครรับ

               เลือกตั้งก่อนจากนั้นใช้วิธีตกลงกันในการเข้ามารับตำแหน่งเพื่อพัฒนาตำบล ทำให้ควนรูมีผู้สมัครรับเลือกตั้ง

               คนเดียวนับแต่นั้นมา


                       จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงสามารถเริ่มต้นได้

               จากหลายหนทาง ไม่ว่าจะเป็นจากหน่วยงานราชการผ่านการบังคับใช้กฎหมาย ผ่านการเผยแพร่ความรู้สร้าง
               ความเข้าใจเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือริเริ่มจากตัวผู้นำเอง ดังเช่นกรณีที่

               เกิดขึ้นในอบต.ดอนหญ้านาง หรือเกิดจากการที่ภาคประชาชนโอบล้อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

               บางอย่างดังเช่นที่เกิดขึ้นกับนำเกี๋ยน หรือเกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างผู้นำและรับลูกโดยประชาชนดังที่

               เกิดขึ้นที่ ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ผ่านการตั้งโรงเรียนผู้นำ เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขใดที่



                                                                                                       10
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16