Page 15 - 22353_Fulltext
P. 15

บทที่ 2

                                            แนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


                       ในบทนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนากรอบแนวคิดเพื่อส่งเสริมการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง โดยในที่นี้ผู้วิจัยได้เลือกทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาอธิบายไว้ 5 เรื่องคือ 1)

               แนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy) 2) แนวคิดเรื่องการสานเสวนาหาทาง

               ออก (deliberation) 3) แนวคิดเรื่องการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองและการเสริมสร้างพลังพลเมือง 4) การสร้าง

               ความสมานฉันท์ 5) การเลือกตั้งไม่ซื้อสิทธิขายเสียง โดยในบทที่ 2 ผู้วิจัยจะนำเสนอสรุปสาระสำคัญของทฤษฎี
               ที่เกี่ยวข้องตามลำดับ จากนั้น จึงนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่

               ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ


               แนวคิดประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy)

                       เมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตย หลายฝ่ายอาจนึกถึงเรื่องของการมีผู้แทนและการเลือกตั้งเป็นเรื่องแรกๆ

               ทำให้ประชาธิปไตยแบบผู้แทน (representative democracy) หรือเป็นรูปแบบการปกครองที่แทบจะเป็น

               ตัวแทนของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ส่งผลให้เมื่อพูดถึงประชาธิปไตยย่อมต้องมาพร้อมกับการ
               เลือกตั้งในฐานะกลไกสำคัญที่ดำรงรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการได้มาซึ่งผู้แทนที่จะทำหน้าที่

               ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วประชาธิปไตยไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว

               ในเรื่องของการเลือกผู้แทนตามรูปแบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนเท่านั้น แต่ยังมีประชาธิปไตยรูปแบบอื่นๆอีก

               มากมาย ในที่นี้ขอยกตัวอย่างคำอธิบายเรื่องรูปแบบประชาธิปไตยของ อาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (2551

               หน้า 4-8) มากล่าวไว้ ซึ่งอาจารย์เอนก แบ่งประชาธิปไตยไว้ 4 รูปแบบ คือ

                       แบบที่ 1 ประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านตัวแทน (representative democracy) ซึ่งในที่นี้ก็

               คือประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยของคนทางอ้อมผ่านการเลือกผู้แทนเพื่อให้เข้าไปทำหน้าที่

               ปกครองแทนพวกเขาในสภาผ่านการออกกฎหมายและนโยบายต่างๆ ซึ่งวิธีการนี้จะมาพร้อมกับกลไกเรื่องการ

               เลือกตั้งดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น


                       รูปแบบที่ 2 ประชาธิปไตยที่ตรวจสอบควบคุมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในที่นี้อาจารย์เอนกพยายามชี้ให้เห็น
               ว่าประชาธิปไตยแบบตัวแทนนั้นบางครั้งอาจมาพร้อมกับรูปแบบอื่นๆในการได้มาซึ่งผู้แทนนอกเหนือจากการ

               เลือกตั้ง เช่นการแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นที่ไว้วางใจเพื่อเข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแลให้คำปรึกษา

               การทำงานของนักการเมืองไปพร้อมกันด้วย ซึ่งโมเดลแบบนี้ในหลายประเทศมีให้เห็นกันอย่างเช่นการมีสภา

               ขุนนางของประเทศอังกฤษที่มาจากการแต่งตั้งทำหน้าที่ไปพร้อมกันกับสภาสามัญชน หรือในกรณีของประเทศ

               ไทยก็มีวุฒิสภาซึ่งมีขึ้นเพื่อให้ทำหน้าที่ร่วมกันคิดร่วมกันทำไปพร้อมกับสภาผู้แทนราษฎรและตรวจสอบถ่วงดุล






                                                                                                       14
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20