Page 18 - 22353_Fulltext
P. 18

ประชาธิปไตยแบบตัวแทนและแบบทางตรง เนื่องจากจะเน้นเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกำหนด

               ประเด็นและแนวทางที่พึงปรารถนาร่วมกันด้วย ภายใต้แนวคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้น

               ประชาชนจะได้มีส่วนร่วมคิดร่วมกำหนดร่วมตัดสินใจไม่ใช่เพียงเข้าไปมีส่วนร่วมรับฟังหรือเลือกสิ่งที่มีการ

               กำหนดไว้แล้วเท่านั้น ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้นเน้นการรับฟังมุมมองที่แตกต่าง ความกังวล และ
               ความปรารถนาของประชาชน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ร่วมกันตัดสินใจกำหนดแนวทางนโยบายต่างๆ

               ร่วมกันกับผู้มีอำนาจและผู้แทนของเขา ในแง่นี้ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือโดยทฤษฎีแล้วจึงสามารถตอบ

               โจทย์ได้ทั้งเรื่องของคุณภาพและความยั่งยืนของประชาธิปไตย (วันชัย วัฒนศัพท์, 2557 หน้า 105-107)


                       ในแง่หนึ่งประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้นก็มีความคล้ายคลึงกันกับประชาธิปไตยทางตรงอยู่

               บางส่วน เพราะเน้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง ทว่าไม่ได้เต็ม

               รูปแบบ แต่เป็นเรื่องๆ เป็นครั้งคราว ตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม โจ (วิสุทธิ์ โพธิแท่น, 2550 หน้า 3)
               โจชัว โคเฮน (Joshua Cohen) และ จอน เอลสเตอร์ (Jon Elster) มีความเห็นที่คล้ายคลึงกันว่าการปกครอง

               ในระบอบประชาธิปไตยนั้น ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยรูปแบบใดสิ่งที่สำคัญคือการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มี

               โอกาสแลกเปลี่ยนและอภิปรายถึงความต้องการ ข้อดี ข้อเสีย ต่อนโยบายต่างๆร่วมกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม

               ด้วย เพราะหากถือว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมีอิสระและมีเสรีภาพในการปกป้อง

               สิทธิของตนได้ นอกเหนือจากการรับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของพลเมืองแล้ว ควรมีการรับประกันสิทธิ
               เสรีภาพในการอภิปรายแลกเปลี่ยนร่วมกันด้วย (วิสุทธิ์ โพธิแท่น, 2550 หน้า 5) ในแง่นี้ผู้วิจัยเข้าใจว่าการ

               อภิปรายแลกเปลี่ยนในที่นี้ของอาจารย์วิสุทธิ์ โพธิแท่น นั้นมุ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการตระหนักถึงเสียง

               ส่วนน้อย (minority rights) ให้มากขึ้น เพราะการยึดหลักหลักเสียงส่วนมาก (majority rule) ในการปกครอง

               นั้นแม้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สามารถหาข้อยุติได้ในระยะเวลาอันสั้น ทว่าเสียงข้างน้อยกลับมักถูกลืมเลือนไป

               ดังนั้น ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือที่เน้นการเปิดพื้นที่รับฟังกลุ่มที่เกี่ยวข้องเป็นประเด็นๆอย่างเหมาะสม

               จึงอาจเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพให้แก่ระบอบประชาธิปไตยและสามารถอุดจุดอ่อนของ
               ประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่กำลังสร้างความรู้สึกหมางเมินทางการเมืองให้กับประชาชนได้รู้สึกว่าพวกเขา

               สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้มากขึ้น


                       Jennifer L. Eagan (2016) สรุปลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือว่าหมายถึง

               รูปแบบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและพิจารณาข้อเรียกร้องต่าง ๆ ผ่าน

               กระบวนการสนทนา เพื่อให้บรรลุสู่ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องต่อขั้นตอนการดำเนินการหรือนโยบาย
               ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะได้ดีที่สุด จุดเด่นของระบอบนื้คือมุ่งเน้นการแสวงหาข้อตกลงร่วมกันของ

               ประชาชนเพื่อสาธารณะประโยชน์ (common good) ไม่ใช่การแสวงหาข้อตกลงอันได้รับอิทธิพลมาจาก

               อำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ ดังนั้น ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือจึงไม่ได้ตั้งอยู่บนการแข่งขันระหว่าง

               ผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน แต่เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนหลักฐานและมีเหตุผลสนับสนุนมุมมองที่หลากหลาย



                                                                                                       17
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23