Page 19 - 22353_Fulltext
P. 19
และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก เพื่อให้ในท้ายที่สุดประชาชนจะได้รับทราบข้อมูลอย่างรอบ
ด้าน ที่จะนำไปสู่การขบคิดมิติต่างๆซึ่งมากไปกว่าความกังวลส่วนตัวและเปิดใจก้าวข้ามอคติไปได้
ในแง่นี้จะเห็นได้ว่าประชาธิปไตยไม่ได้มีเพียงมิติของการเลือกตั้งแม้ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้งนั้นเป็น
กลไกสำคัญของประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่จะทำให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจของตนผ่านการเลือกผู้แทนได้
ทว่าประชาธิปไตยแบบผู้แทนที่ดีจะต้องมาพร้อมกับกระบวนการเลือกตั้งที่มีคุณภาพด้วย ไม่เช่นนั้นอาจเกิด
กรณีของการเลือกตั้งที่นำไปสู่การได้มาซึ่งผู้แทนเผด็จการหรือผู้นำที่ไร้ความสามารถได้ IDEA ได้ชี้ให้เห็นว่า
ประชาธิปไตยไม่ได้หมายเพียงการเลือกตั้งเท่านั้น โดยชี้ให้เห็นว่าหากกระบวนการเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดยทุจริต
หรือไม่มีกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลที่ดีพอ การเลือกตั้งอาจนำมาซึ่งผู้นำเผด็จการได้ ดังเช่นกรณีของฮิตเลอร์
ผู้นำชาวเยอรมันพรรคนนาซี (NAZI) ที่พยายามสถาปนาตนเองขึ้นเป็นผู้นำที่เรียกว่า ฟูเรอร์ (Fuehrer) และ
รวบอำนาจของรัฐสภามาไว้กับตัวก็มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน (ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ 2557 หน้า 35-36)
วิสุทธิ์ โพธิแท่น (2550, หน้า 53) ชี้ให้เห็นว่าการเลือกตั้งที่แท้ (genuine election) นั้น ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งต้องมีทางเลือกและไม่มีการคดโกงเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีความหลากหลายเพื่อ
เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้เลือกผู้ที่ตนคิดว่าดีที่สุดเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้แทน เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไป
ตามเจตนารมณ์หรือความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการจึงพยายามที่จะแสวงหา
แนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยให้มีประสิทธิภาพและยังสามารถรักษาหลักการประชาธิปไตยไว้ได้ ในการ
รักษาสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของผู้คนในสังคม ด้วยเหตุนี้ ประชาธิปไตยในรูปแบบอื่นๆจึงได้รับการ
พัฒนาขึ้นมา ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนับเป็นประชาธิปไตยอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากขึ้น
ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ (2557) ชี้ให้เห็นในรายละเอียดว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้น อันที่
จริงเป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนา หรือที่เรียกว่าการสานเสวนาหาทางออก (deliberation) ซึ่งแท้จริง
แล้วเป็นกระบวนการธรรมชาติและเกิดขึ้นมานานแล้วในอดีต เมื่อมนุษย์ในสังคมมีประเด็นปัญหาระหว่างกัน
ทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาคือการหันหน้าเข้าหากันและคุยกัน ยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาสร้างชาติ
ขึ้นมาได้ก็ด้วยการหันหน้าคุยกันการสานเสวนาหาทางออกนับเป็นปฏิบัติการทางการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด แต่เดิม
นั้นเรื่องนี้เป็นกระบวนการที่กระทำกันในการประชุมสภาเมือง ซึ่งเกิดขึ้นก่อนจะมีการร่างรัฐธรรมนูญและ
กฎหมายเสียอีก การพูดคุยปรึกษาหารือกันจึงเป็นปฏิบัติการทางการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด แต่เดิมกระบวนการนี้
ถูกนำมาใช้ระหว่างผู้ทำปศุสัตว์เพื่อกำหนดทางออกร่วมกันเพื่อรักษาปศุสัตว์ของพวกเขา กระบวนการนี้ต่อมา
ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอเมริกันเมื่อสร้างชาติ
Deliberative Democracy Institute (DDI) มูลนิธิแคธเธอริ่ง (Kettering Foundation) ประเทศ
สหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy) นั้นเป็นกระบวนการที่
จะเกิดผลในระยะยาว โดยการที่ประชาชนจะเข้าไปเผชิญหน้ากับปัญหาสาธารณะและลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหา
18