Page 24 - 22353_Fulltext
P. 24
ข้อเท็จจริง ไม่ใช่อารมณ์ เพื่อร่วมกันกำหนดทางเลือกที่สมเหตุสมผลและเป็นที่ยอมรับได้มากที่สุดกับปัญหา
ยากๆที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนใดสามารถชี้ทางออกที่สมบูรณ์เบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้
ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ (2547) ได้ชี้ให้เห็นว่าการสานเสวนานั้น มีความแตกต่างจากการโต้เถียง
(debate) ในหลายมิติ ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ความแตกต่างระหว่างการสานเสวนาและการโต้เถียง
การโต้เถียง กับ การสานเสวนา
Debate V/S Dialogue
• เชื่อว่ามีคำตอบที่ถูกอย่างเดียว (และฉันมี • เชื่อว่าคนอื่นก็มีบางส่วนของคำตอบ
คำตอบ) • พร้อมร่วมมือ: พยายามหาความเข้าใจ
• พร้อมรบ: พยายามพิสูจน์ว่าคนอื่นผิด ร่วมกัน
• เกี่ยวกับการเอาชนะกัน • เกี่ยวกับการพิจารณาหาสิ่งที่ร่วมกัน
• ฟังเพื่อจะหาช่องโหว่หรือข้อบกพร่อง • ฟังเพื่อที่จะทำความเข้าใจ
• ปกป้องสมมติฐานของเรา • หยิบยกสมมติฐานของเราขึ้นเพื่อรับ
• จับผิดมุมมองของฝ่ายอื่น การตรวจสอบและอภิปราย
• ปกป้องมุมมองเดียวจากมุมมองอื่น • ตรวจสอบมุมมองของทุก ๆ ฝ่าย
• แสวงหาจุดอ่อนและข้อบกพร่องในจุดยืน • ยอมรับความคิดของคนอื่น เพื่อนำมา
ของฝ่ายอื่น ปรับปรุงความคิดของตน
• แสวงหาทางออกที่ตอบสนองจุดยืนของเรา • แสวงหาจุดแข็งและคุณค่าในจุดยืน
ของฝ่ายอื่น
• ค้นพบโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ
ที่หลากหลาย
ที่มา: เอกสารประกอบการสานเสวนาเรื่อง ระบบการเมืองที่พึงปรารถนาในอีก 10 ปีข้างหน้า โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์
วันชัย วัฒนศัพท์, 2547.
ดังนั้น แม้การสานเสวนาหาทางออกจะเป็นกระบวนการที่เก่าแก่และทำกันมานานแล้วนับแต่อดีต
ทว่าในทางปฏิบัติการสานเสวนาที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล และได้ผลลัพธ์อันเป็นข้อตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับ
ร่วมกันได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีหลายกระบวนการที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องทำความเข้าใจ ประกอบด้วย เรื่อง
การกำหนดกติการ่วม การรักษากติการ่วมกัน เรื่องสุนทรียะสนทนา (appreciative inquiry) เรื่องการฟัง
อย่างตั้งใจ (active listening) และการหาฉันทามติ นอกจากนั้น เรื่องบทบาทของผู้อำนวยการสานเสวนาและ
ขั้นตอนกระบวนการสานเสวนาก็เป็นอีกส่วนที่มีความสำคัญ ทั้งยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและมีรายละเอียด
ค่อนข้างมาก ซึ่งผู้วิจัยจะลำดับให้ฟังต่อไป
23