Page 25 - 22353_Fulltext
P. 25
โดยในกระบวนการสานเสวนานั้น สิ่งที่ผู้ดำเนินการพึงระวังคือ ไม่จำเป็นที่การสานเสวนาทุกครั้ง
จะต้องได้ข้อสรุปหรือได้ทางออกสำหรับแก้ไขปัญหาเสมอไป มีความเป็นไปได้สูงมากที่การสานเสวนาอาจจะ
ไม่ได้คำตอบทุกครั้งในทันที เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องระลึกอยู่เสมอในการสานเสวนาหาทางออกก็คือ
เป้าหมายหรือผลสำเร็จของการสานเสวนานั้นไม่ได้สิ้นสุดลงที่การค้นหาข้อยุติและนำไปสู่การตัดสินใจหรือการ
ปฏิบัติได้ในทันที แต่เป็นไปเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ร่วมกันระหว่างฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ปัญหาหรือประเด็นที่อยู่ในความสนใจที่กำลังเกิดขึ้น การสร้างความเข้าใจและการเปิดใจยอมรับฟังซึ่งกันและ
กันนับเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้นเสียก่อนการหาข้อยุติและตัดสินใจในประเด็นต่างๆร่วมกัน
ในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อมีการเปิดใจรับฟังกันและกันแล้วแม้สุดท้ายจะไม่ได้ข้อยุติร่วมกันทว่าการแสวงหาข้อสรุป
เบื้องต้น (common ground) ร่วมกันก็อาจเกิดขึ้นได้หลังจากนั้น ดังนั้น การสานเสวนาหาทางออกใน
ระยะแรกจึงมุ่งไปที่การสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่ายเพื่อนำไปสู่โอกาสในการเจรจาในอนาคต
องค์ประกอบของการสานเสวนาหาทางออก
ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ (2555, หน้า 8-33) สรุปองค์ประกอบของการสานเสวนาหาทางออกไว้ว่า
การสานเสวนาหาทางออกที่มีประสิทธิภาพ ควรประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. ผู้อำนวยการประชุมหรือวิทยากรกระบวนการ (Facilitator) ในที่นี้หมายถึงผู้นำกระบวนการ
พูดคุย ซึ่งได้รับการฝึกฝนในการนำกระบวนการเพื่อให้สามารถกำกับการอภิปรายในกลุ่มให้เป็นไปด้วยความ
ราบรื่น และเปิดโอกาสให้แก่ทุกฝ่ายได้แสดงความเป็นอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน พร้อมทั้ง มีความสามารถในการ
สรุปประเด็น สร้างความสนใจในการแลกเปลี่ยนสนทนา สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สนทนาด้วยกัน
เพื่อให้ประเด็นที่สนทนาได้รับการแลกเปลี่ยนกันมากที่สุด ดังนั้นผู้อำนวยการประชุมจึงควรได้รับการพัฒนา
ทักษะในเรื่องของการฟังอย่างตั้งใจ สุนทรียะสนทนา และการหาฉันทามติมาก่อนล่วงหน้า โดยบทบาทของ
ผู้อำนวยการประชุมหรือวิทยากรมีดังต่อไปนี้
1.1 ช่วยให้การสานเสวนา เป็นไปตามเป้าหมาย
1.2 ต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจน เป็นที่ยอมรับ
1.3 รับฟังผู้อื่นและรับรู้ความรู้สึกของผู้เข้าร่วมเสวนา
1.4 พูดถึงปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มองอนาคต และเอาอดีตเป็นบทเรียน
1.5 มีความสามารถในการให้คำแนะนำกระบวนการหรือวิธีการแก้ปัญหา หรือ แนะนำกระบวนการ
ต่างๆเพื่อนำไปสู่ฉันทามติร่วมกันของคนในกลุ่ม
1.6 สรุปข้อคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเสวนาได้ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนของกลุ่ม
24