Page 29 - 22353_Fulltext
P. 29
ความสำคัญและกระบวนการสานเสวนา องค์ความรู้เรื่องการฟังอย่างตั้งใจ (active listening) สุนทรียะ
สนทนา และองค์ความรู้เรื่องกระบวนการหาฉันทมติ โดยในขั้นนี้ผู้จัดอาจเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีองค์ความรู้
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาอธิบายถึงประเด็นเหล่านี้ก่อนเริ่มต้นการเสวนาก็ได้ หรือว่าอาจใช้การประชาสัมพันธ์
จัดเวทีให้ความรู้เหล่านี้ก่อนจัดเวทีสานเสวนาเพื่อปรับพื้นฐานความเข้าใจก่อนก็ได้เช่นกัน
โดยจุดเน้นที่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมสานเสวนาทราบก็คือ ประชาธิปไตยนั้นมีหลายรูปแบบไม่เฉพาะ
ประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ประชาชนมีสิทธิไปเลือกตั้งเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการ
แสดงความคิดเห็นและเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันสร้างสรรค์บ้านเมืองที่ดีและน่าอยู่ร่วมกันได้ โดยเวทีสาน
เสวนาหาทางออกเป็นรูปแบบหนึ่งที่ประชาชนสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ฝ่ายต่างๆได้แสดงมุมมอง
ความเห็นที่แตกต่างระหว่างกันได้ ในฐานะเวทีที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องกับพบปะแลกเปลี่ยนกันโดยมีคน
กลางที่มีองค์ความรู้และมีเทคนิคในการชวนพูดคุยดำเนินการประชุมเสวนาให้ ขณะที่ การฟังอย่างตั้งใจนั้น
เป็นวิธีการที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ในการสานเสวนาหาทางออก โดยการฟังอย่างตั้งใจ
นั้นมีหลักการบางอย่างเกี่ยวกับการแสดงออกซึ่งท่าทางที่สื่อให้เห็นถึงการ “รับฟัง” โดยท่าทีเหล่านี้มี
ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมและการสร้างให้บรรยากาศการเสวนาเป็นไปได้โดย
ราบรื่น โดยการฟังอย่างตั้งใจนั้นมักจะมาคู่กันกับการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ หรือที่ ศ.นพ.วันชัย
วัฒนศัพท์ เรียกว่าสุนทรียะสนทนา (appreciative inquiry) หรือก็คือ การใช้วาจาภาษาดอกไม้ในการพูดคุย
กัน หรือการใช้คำถามเชิงบวกเพื่อสอบถามและแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งการสานเสวนาหาทาง
ออกให้ประสบความสำเร็จนั้นภาษากายและการใช้ภาษาในการสื่อสารที่เป็นมิตรและหวังดีไม่โจมตีซึ่งกันและ
กันนับเป็นขั้นตอนสำคัญ สุดท้ายคือกระบวนการฉันทามติ ซึ่งจะถูกนำมาใช้เป็นหลักในการค้นหาข้อสรุป
ร่วมกับระหว่างภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ และ ถวิลวดี บุรีกุล. (2555 หน้า 17)
ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการ “ฉันทามติ” ในที่นี้ไม่ใช่ “เอกฉันท์” ที่ทุกคนจะเห็นพ้องต้องกันหมด และไม่ใช่เสียง
ส่วนใหญ่แต่เป็นมติที่เกิดจากการพูดคุยปรึกษาหารือกันถึงข้อดีข้อเสียและทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันได้
ในแง่นี้กระบวนการฉันทามติจึงมีความสอดคล้องและเหมาะสมที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยที่มีคุณภาพในแง่ของ
การรับฟังเสียงส่วนน้อยได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย เหล่านี้เป็นองค์ความรู้สำคัญที่ผู้เข้าร่วมสานเสวนาหาทางออกควร
จะต้องได้รับทราบก่อนเริ่มเข้าสู่การสานเสวนาในเวที
นอกจาก องค์ความรู้เรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและประชาเสวนาแล้ว การนำเสนอ
ประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดเวทีประชาเสวนาเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆก็นับเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้
ผู้เข้าร่วมเวทีรู้สึกคุ้นเคยกับรูปแบบเวทีประชาเสวนาที่เน้นการมีส่วนร่วมคิดร่วมระดมความเห็นได้มากขึ้น ทั้งนี้
เพราะภายใต้ระยะเวลาในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่จำกัด การมอบประสบการณ์ตัวอย่างที่ผ่านมาเกี่ยวกับ
กระบวนการสนเสวนาจะช่วยสรุปความเข้าใจได้ในระยะเวลาอันสั้น ก่อนที่จะชวนให้ช่วยกันกำหนดประเด็น
ร่วมกันเพื่อสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าของประเด็นดังกล่าวขึ้นในเวลาต่อมา ในทางปฏิบัติแล้วการนำ
28