Page 27 - 22353_Fulltext
P. 27

ปรับเปลี่ยนฉากทัศน์เป็นของผู้เข้าร่วมเสวนาที่จะแสดงความเห็นร่วมกันโดยอาจเสนอแนวทางใหม่หรือ

               ผสมผสานทางเลือกที่ผู้จัดได้เสนอแนะไว้ให้ตามหลักวิชาการประกอบกันขึ้นเป็นรูปแบบที่ผู้เข้าร่วมการสาน

               เสวนาทั้งหมดจะเห็นพ้องต้องกันว่าสามารถยอมรับได้ ฉากทัศน์ในที่นี้จึงเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการนำ

               กระบวนการสานเสวนาเท่านั้นไม่ใช่ข้อสรุปของการเสวนา เพราะข้อสรุปของการสานเสวนาจะต้องเกิดจาก
               ฉันทามติของทุกฝ่ายในเวที


                      5. กระบวนการสานเสวนากลุ่มย่อย (Small group dialogue)


                      ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าในการสานเสวนาหาทางออกนั้น จำนวนผู้เข้าร่วมไม่ควรมากเกินไป โดยใน

               จำนวนนั้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างทั่วถึงกันทุกคนยังจำเป็นต้องมีการแบ่งกลุ่มย่อยลงไป

               อีกเพื่อให้มีการอภิปรายร่วมกันในรายละเอียดได้มากขึ้น ดังนั้น ในการสานเสวนาหาทางออก การแยกกลุ่ม
               เป็นกลุ่มเล็กๆจึงเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่ไม่อาจขาดได้ โดยการแบ่งกลุ่มย่อยนั้นอาจเกิดขึ้น 1 หรือ 2 ครั้งก็

               ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แต่รูปแบบที่ดีที่สุดคือการแบ่งกลุ่มย่อยอย่างน้อย 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและบ่ายของ

               การจัดสานเสวนาเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้ระดมความเห็นร่วมกันใน 2 เรื่องหลักคือ ประเด็นปัญหา และ

               ทางออก โดยการแบ่งกลุ่มย่อยในแต่ละครั้งไม่ควรมีสมาชิกเกิน 8-10 คนต่อกลุ่ม เพื่อให้การสานเสวนากลุ่ม

               เล็กมีประสิทธิภาพมากที่สุด


                      6. การนำเสนอและแสดงความคิดเห็น (Presentation)

                      นอกจากการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมสานเสวนาได้แสดงความคิดเห็นของตนเองในกลุ่มแล้ว เมื่อได้

               ข้อสรุปที่เป็นฉันทามติของกลุ่ม ขั้นตอนที่สำคัญอีกอย่างคือการนำเสนอความคิดเห็นของกลุ่มตนให้กลุ่มอื่นได้

               รับทราบเพื่อแสวงหาข้อสรุปของกลุ่มใหญ่ร่วมกันต่อไป ซึ่งการทำเช่นนี้นอกจากจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมเสวนาเกิด

               ความรู้สึกเป็นเจ้าของประเด็นแล้วยังช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มอื่นๆด้วย ซึ่งจะช่วย

               เพิ่มโอกาสให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและอาจนำไปสู่การแสวงหาทางออกร่วมกันได้ในที่สุด ดังนั้น หลังจาก

               แบ่งกลุ่มย่อยในช่วงเช้าและช่วงบ่ายแล้ว แต่ละกลุ่มจะต้องกลับเข้ามารวมกันในห้องประชุมใหญ่อีกครั้ง โดย
               ผู้แทนแต่ละกลุ่มจะนำเสนอข้อสรุปอันเป็นฉันทามติของกลุ่มตนให้สมาชิกในกลุ่มอื่นได้รับฟังและรับทราบไป

               พร้อมกัน โดยระหว่างการนำเสนอนั้นผู้อำนวยการสานเสวนาจะต้องควบคุมเวลาและกระตุ้นให้สมาชิก

               แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอภิปรายเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ฉันทามติของกลุ่มใหญ่


                       ขั้นตอนของการสานเสวนาหาทางออก

                       ในการสานเสวนาหาทางออกนั้นแม้โดยหลักจะเน้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมแสดงความ

               คิดเห็นและแลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆระหว่างกัน ทว่าในทางปฏิบัตินั้นก็มีความละเอียดอ่อนอย่างมาก โดยสรุป
               แล้วมีขั้นตอนอยู่อย่างน้อย 7 ขั้นตอนประกอบด้วย






                                                                                                       26
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32