Page 23 - 22353_Fulltext
P. 23
ปรึกษาหารือระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆด้วยการสานเสวนาหาทางออก (Canadian Institution
Development Agency: CIDA) ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับปัญหาเรื่องการบริหารงานด้านสุขภาพซึ่งผู้รับบริการ
พบกับปัญหางานบริการด้านสุขภาพในประเทศแคนาดาในขณะนั้นสู้ประเทศอื่นไม่ได้ในมุมมองของผู้รับบริการ
จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีการนำเอากระบวนการประชาเสวนามาปรับใช้เพื่อรับฟังปัญหา
ของกันและกัน ซึ่งต่อมาได้ข้อสรุปว่าหากต้องการให้บริการดังกล่าวดีกว่าที่เป็นอยู่จำเป็นต้องขึ้นภาษีส่งผลให้
สามารถยอมความกันได้และเลิกแล้วกันไป ซึ่งการศึกษาดูงานในครั้งนั้นได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คณะผู้
ศึกษาดูงานในขณะนั้น นำโดยนายอุทัย พิมพ์ใจชน ในฐานะประธานรัฐสภา และ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ในฐานะ
ประธานกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำวุฒิสภา สนใจนำกระบวนการดังกล่าวมาปรับใช้ใน
ประเทศไทยเพื่อสร้างให้เกิดการปรึกษาหารือกับประชาชนอย่างแท้จริง จากนั้น สถาบันพระปกเกล้า ก็เล็งเห็น
ความสำคัญของการสานเสวนาหาทางออกและนำมาปรับใช้กับการดำเนินโครงการและกิจกรรมหลายอย่าง
ของสถาบัน
ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ (2557 หน้า 45) นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและ
ธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เป็นอีกผู้หนึ่งที่ศึกษาและสนับสนุนกระบวนการสานเสวนาหาทางออกมา
โดยตลอด กล่าวไว้อย่างเห็นภาพว่า แนวคิดเรื่องการสานเสวนาหาทางออกนั้น เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย
แบบปรึกษาหารือ โดยอาจเรียกกระบวนการนั้นว่า “ประชาเสวนา” (citizen dialogue) ว่าเป็นประชาธิปไตย
แห่งการสานเสวนาหาทางออกก็ได้ และชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วกระบวนการนี้เป็นกระบวนการตามธรรมชาติใน
การแก้ไขปัญหาซึ่งใช้กันมานั้นนับแต่อดีต
การสานเสวนาจึงเป็นกระบวนการหนึ่งในการส่งเสริมประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายได้เลือกร่วมกัน ภายใต้
กระบวนการนี้ประชาชนจะไม่ใช่เพียงแค่ผู้มีส่วนร่วมรับฟัง หรือไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้นแต่ประชาชน
จะมีส่วนร่วมตัดสินใจด้วย โดยพวกเขาจะต้องทำความเข้าใจต่อประเด็นปัญหาและทางเลือกที่หลากหลายและ
ชั่งน้ำหนักเพื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกร่วมกันกับทุกฝ่ายโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วมและต้นทุนที่ทุกฝ่าย
ยอมรับได้ การสานเสวนาหาทางออกจึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยเป็นไปในอย่างที่มันควร
จะเป็น
ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ (2557 หน้า 60) ยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสานเสวนาหาทางออกอีก
ว่า กระบวนการนี้จะช่วยให้แต่ละฝ่ายได้ช่วยกันพิจารณาข้อเสนออย่างรอบด้านมากขึ้น เพื่อช่วยให้การ
ตัดสินใจที่จะมีขึ้นเป็นไปอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง ที่สำคัญได้รับการยอมรับจากทุก
ฝ่าย ดังนั้นการสานเสวนาจึงต้องพยายามหลีกเลี่ยงการเกิดข้อโต้เถียง การแยกข้างแยกฝ่าย เพราะการกระทำ
เช่นนั้นอาจส่งผลให้เกิดความพยายามเอาชนะอีกฝ่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน การสานเสวนาก็ไม่ใช่การพูดตาม
มารยาทเพื่อให้เรื่องดังกล่าวจบๆไปเช่นกัน แต่เป็นการเสวนากันอย่างจริงจังด้วยหลักฐาน เหตุผลและ
22