Page 20 - 22353_Fulltext
P. 20
เหล่านั้นด้วยตนเอง ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าพวกตนเป็นส่วน
หนึ่งของเครือข่ายผู้คนจำนวนมากที่ทำงานเกี่ยวกับประชาธิปไตยโดยตั้งใจ โดยหลักการสำคัญที่จะช่วยให้
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือประสบความสำเร็จ ต้องประกอบด้วย 1) กระบวนการสื่อสารที่มีคุณภาพ 2) มี
การฟังกันอย่างตั้งใจ การเคารพและยอมรับความแตกต่างหลากหลาย 3) สร้างทางเลือก เปรียบเทียบ
ชั่งน้ำหนัก 4) สานเสวนาเพื่อหาฉันทามติ
Gutmann and Thompson (1996, อ้างใน สุวิตา มะมา 2562, หน้า 22) ชี้ให้เห็นความสำคัญของ
ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือว่าประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
ประการแรก ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเป็นกระบวนการตกลงร่วมกันด้วยเหตุผล การพูดคุย
เจรจากันเป็นไปเพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างกันไม่ใช่การมุ่งลบล้างประโยชน์ของฝ่ายตรงข้ามหรือรักษา
ประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก
ประการที่สอง คือเหตุผลที่แต่ละฝ่ายนำมาใช้ในกระบวนการปรึกษาหารือต้องเป็นเหตุผลที่มีความ
เป็นสาธารณะ กระทำโดยเปิดเผยในที่สาธารณะ เป็นเหตุผลที่คนในสังคมส่วนใหญ่เห็นว่าสำคัญ เข้าใจได้
ซึ่งเรื่องนี้การสร้างความเข้าใจให้แก่สาธารณชนถึงเนื้อหาประเด็นที่มีการปรึกษาหารือกันอย่างชัดเจน จะช่วย
ให้กระบวนการได้รับการยอมรับมากขึ้น
ประการที่สาม สิ่งที่เกิดจากการตัดสินใจในเวทีปรึกษาหารือนั้นจะเป็นข้อตกลงร่วมกันที่มีผลผูกพัน
(binding) ต่อการปฏิบัติด้วย อย่างน้อยในระยะเวลาหนึ่ง
ประการที่สี่ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้นเป็นกระบวนการ จึงไม่ได้หมายความว่าข้อสรุปที่ได้
จากเวทีจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ข้อสรุปที่เกิดขึ้นจึงมีความเป็นพลวัต (dynamic) เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงได้
เสมอ หากพบว่าไม่สอดคล้องกับเป้าหมายหรือส่งผลกระทบบางประการที่ไม่น่าพอใจหรือเกิดข้อท้วงติงจาก
จากสังคม ก็สามารถหารือกันใหม่เพื่อแสวงหาข้อตกลงใหม่ๆร่วมกันได้
งานของ สุวิตา มะมา (2562, หน้า 26-27) ได้ทำการสำรวจวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตย
แบบปรึกษาหารือและได้ข้อสรุปว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมีคุณลักษณะที่ได้รับการกล่าวถึงซ้ำกันใน
งานหลายชิ้นอยู่ 8 ประการ คือ 1) ผลของการตัดสินใจที่เป็นข้อผูกมัดให้ปฏิบัติตาม (ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง) 2)
เป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมให้ความสนใจ 3) เป็นหลักการใช้เหตุผลที่อยู่บนหลักของศีลธรรมเพื่อสร้างข้อตกลง
ร่วมกัน 4)เป็นประบวนการที่เป็นพลวัตไม่ยึดติด 5) เป็นการบูรณาการระหว่างพลังของระบบตัวแทนและการมี
ส่วนในการจัดการตนเองโดยตรงของประชาชน 6) เป็นกระบวนการที่เปิดเผยในที่สาธารณะและหารือกันใน
เรื่องผลประโยชน์ของสาธารณะ 7) อยู่บนหลักการของความเคารพในเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของคนใน
สังคม 8) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก
19