Page 22 - 22353_Fulltext
P. 22

ในแง่นี้การสานเสวนาหาทางออกจึงมีลักษณะที่สอดคล้องกับหลักการของประชาธิปไตยแบบ

               ปรึกษาหารืออย่างมาก ทำให้นักวิชาการบางคน อย่าง ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ และ พัชรี สิโรรส เรียก

               กระบวนการประชาธิปไตยแบบนี้ว่าเป็นประชาธิปไตยแบบสานเสวนาหาทางออก ในบทความเรื่อง

               ประชาธิปไตยแบบสานเสวนา ความเชื่อ ความฝันและความเป็นไปได้ในสังคมไทย ของ พัชรี สิโรรส (2552)
               ระบุว่าประชาธิปไตยแบบสานเสวนามีหลักการสำคัญอยู่ 2 ประการคือ 1) หลักการใช้เหตุผล (reasoning) ใน

               การเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มต่างๆ และ 2) หลักการกระทำที่เปิดเผยเป็นสาธารณะ (public act) หมายถึง

               กระบวนการเจรจากันด้วยเหตุผลนั้นจะต้องดำนินการอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ต่างไปจากการลงคะแนน

               เสียงซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคลและกระทำในที่ลับ นอกจากหลักการข้างต้นแล้วยังมีองค์ประกอบสำคัญที่จะนำให้

               สังคมไปสู่ประชาธิปไตยแบบสานเสวนาหาทางออก ซึ่งประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของพลเมืองที่มีความเป็น
               ตัวแทนกรณีเป็นสาธารณะชนขนาดใหญ่ การส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง กล่าวคือทำให้

               ประเด็นนั้นได้รับความสนใจจากสาธารณะชนในวงกว้าง ประชาชนมีโอกาสในการปรึกษาหารือและมีข้อมูลมี

               การใช้เหตุผลประกอบการวินิจฉัยอย่างรอบด้านเพื่อกำหนดทางเลือกที่ดีที่สุด


                       ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเลือกนำแนวคิดการสานเสวนาหาทางออก (deliberation) หรือบางแห่งเรียกว่า

               ประชาเสวนา (citizen dialogue) มาอธิบายถึงรายละเอียดในส่วนถัดไป เพื่อชี้ให้เห็นกระบวนการสำคัญๆ

               และขั้นตอนต่างๆของการสานเสวนาหาทางออก เพื่อประโยชน์ในการนำมาปรับใช้เป็นแนวทางส่งเสริมการ
               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงและส่งเสริมประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือต่อไป


               แนวคิดเรื่องการสานเสวนาหาทางออก (deliberation)

                       การสานเสวนาหาทางออก (deliberation) เป็นแนวคิดที่เก่าแก่และมีการปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน

               ที่เน้นให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ผ่านการประชุมปรึกษาหารือสาธารณะ
               ซึ่งวิธีการเช่นนี้ใช้กันมากในแถบอเมริกาเหนือและประเทศแคนาดา โดยเป้าหมายของการสานเสวนานั้นมุ่ง

               สร้างความเข้าใจและการยอมรับระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย การสานเสวนาไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้าง

               ความเชื่อแต่มุ่งเปิดพื้นที่ให้ผู้เกี่ยวข้องได้อภิปรายกันอย่างจริงจังด้วยเหตุและผลเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ทุกฝ่าย

               ยอมรับร่วมกันได้ ดังนั้น ในการสานเสวนาจึงไม่ได้มีเป้าหมายที่ถูกจำกัดหรือมีธงใดๆไว้ อีกทั้งข้อเสนอทุกอย่าง

               สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมและตามที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน (ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ 2555,

               หน้า 8-33)

                       ในประเทศไทยกระบวนการสานเสวนาหาทางออกถูกนำมาใช้เมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฎชัด

               ทว่าในปี 2545 สถาบันพระปกเกล้า โดยศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล ได้ผลักดันให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

               และสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทย ได้เข้าศึกษาดูงานกระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐสภาประเทศ

               แคนาดาและเมืองวินนิเป็ก (Winnipeg) ซึ่งเป็นกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมโดยการ





                                                                                                       21
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27