Page 16 - 22353_Fulltext
P. 16
การทำงานซึ่งกันและกัน โดยการได้มาซึ่งวุฒิสภาอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
ซึ่งประเทศไทยมีการได้มาในสองรูปแบบทั้งการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง
รูปแบบที่ 3 ประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง (participatory democracy) ซึ่งใน
รูปแบบนี้ประชาชนจะได้รับความสำคัญและมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น ไม่ใช่มีบทบาทเพียงการลงคะแนน
เสียงเลือกตั้งเท่านั้น แต่มีบทบาทในการปกครองผ่านกลไกต่างๆ อาทิ ในการเสนอข้อกฎหมาย การเข้าชื่อเพื่อ
ตรวจสอบและถอดถอนนักการเมือง รวมไปถึงทำประชาพิจารณ์ต่อประเด็นต่างๆ ซึ่งประชาธิปไตยรูปแบบนี้
ประเทศไทยเริ่มมีให้เห็นชัดเจนขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งได้ให้สิทธิแก่ประชาชน
ในการเข้าชื่อกันเพื่อเสนอกฎหมายและถอดถอนนักการเมืองได้ เป็นต้น
รูปแบบที่ 4 ประชาธิปไตยแบบประชาชนปกครองตนเอง (self-government democracy) ซึ่งในที่นี้
อาจารย์เอนกได้ยกตัวอย่างประชาธิปไตยแบบกรีกโบราณ ซึ่งมีเป้าหมายชัดเจนในการปกครองตนเอง
ประชาธิปไตยแบบนี้หัวใจสำคัญไม่ใช่อยู่ที่การมีผู้แทนเพราะสุดท้ายแล้วทุกคนจะต้องสามารถเป็นได้ทั้ง
ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง เนื่องจากพลเมืองทุกคนจะมีสิทธิในการเข้าไปบริหารบ้านเมืองในรัฐสภา เพื่อออก
กฎหมายมาควบคุมตนเอง ไม่ใช่เพื่อออกกฎมาลงโทษหรือกดขี่ผู้อื่น ทั้งนี้เพราะชาวกรีกหรือชาวเอเธนส์เชื่อว่า
“ส่วนตัวกับส่วนรวมไม่อาจแยกออกจากกัน” ดังนั้น พลเมืองจะต้องปกครองตนเองเสียสละเพื่อประโยชน์
ส่วนรวม นี่เป็นความหมายที่แท้จริงของการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบปกครองตนเอง หรือบางคนอาจ
เรียกการปกครองรูปแบบนี้ว่าเป็นประชาธิปไตยทางตรง (direct democracy)
ในความเป็นจริงประชาธิปไตยทางตรงแบบกรีกมีข้อจำกัดหลายประการประการแรกเป็นเรื่องของ
พื้นที่ เอเธนส์ขณะนั้นไม่ได้มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลมากนักและมีพลเมืองเพียง 70,000 กว่าคน มีผู้เข้าร่วม
ประชุมแต่ละครั้งราว 2,000 คน ซึ่งยังสามารถบรรจุให้อยู่ในสนามกีฬาขนาดใหญ่เพื่อพูดคุยร่วมกันในแต่ละ
ครั้งได้ ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการจับฉลากผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนผู้คนเข้ามาดำรงตำแหน่งบริหารประเทศจึง
มีความเป็นไปได้ อาจารย์เอนก ชี้ให้เห็นว่า (2551 หน้า 7-8) ที่เอเธสนส์ทำการปกครองเช่นนั้นได้ส่วนหนึ่งเป็น
เพราะเมื่อ 2500 ปีที่แล้ว งานบริหารต่างๆไม่ได้มีความสลับซับซ้อน ดังนั้น จึงสามารถจับฉลากหมุนเวียนให้
พลเมืองผลัดกันเข้ามาเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองได้โดยสลับสับเปลี่ยนกันได้ตั้งแต่ระดับต่ำไปจนระดับสูงไม่จำกัด
ว่าผู้นั้นจะต้องดำรงตำแหน่งนั้นเสมอไป
ทว่าเมื่อสังคมมีการพัฒนามากขึ้น มีจำนวนพลเมืองที่เพิ่มมากขึ้น การที่จะให้พลเมืองทุกคนจะเข้าไป
มีส่วนร่วมในการปกครองตนเองในสภาจึงเป็นเรื่องที่เกินความสามารถ เพราะเมื่อพลเมืองมีจำนวนมากขึ้นจึง
ส่งผลให้กระบวนการออกเสียงโดยตรงทุกครั้งเป็นเรื่องยาก ทั้งยังมีความเสี่ยงหลายประการเพราะ
ประชาธิปไตยทางตรงที่ให้ทุกคนได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนและตัดสินใจอย่างกว้างขวางนั้นต้องใช้ระยะ
เวลานานเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ การนำรูปแบบประชาธิปไตยทางตรงมาใช้ในสังคมที่มีผู้คนเป็น
15