Page 10 - 22353_Fulltext
P. 10

อันที่จริงหลายที่ในประเทศไทยเล็งเห็นถึงปัญหาซื้อสิทธิขายเสียงและได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว

               ด้วยหลากหลายวิธีการ ยกตัวอย่างเช่น กรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเกี๋ยน จังหวัดน่าน นับเป็นอีก

               หนึ่งกรณีตัวอย่างที่ สามารถแก้ไขปัญหาความแตกแยกของคนในชุมชนกระทั่งอาจนำชุมชนไปสู่การล่มสลาย

               ของชุมชนได้สำเร็จ โดยคนในชุมชนยอมรับว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชุมชนน้ำเกี๋ยนต้องประสบกับปัญหาการ
               แตกแยกนี้ก็คือการที่กลุ่มผู้มีอิทธิพลจากภายนอกเข้ามาแทรกแซงในชุมชน กระทั่งนำมาสู่การแข่งขันการแบ่ง

               ฝักแบ่งฝ่ายกัน แล้วทำให้ชุมชนขาดความสามัคคีและนำมาสู่ปัญหาทางด้านสังคมและการเมืองหลายประการ

               ทว่าโชคดีที่ชาวชุมชนน้ำเกี๋ยนรู้ตัวถึงสัญญาณของการล่มสลายดังกล่าวว่าเป็นผลมาจากการแตกแยกความ

               สามัคคีของคนในชุมชน พวกเขาจึงหันหน้ามาคุยกันมากขึ้น โดยอาศัยทุนทางสังคมที่ชุมชนมีอยู่ไม่ว่าจะเป็น

               บ้าน วัด โรงเรียน หรือสถานีอนามัย (บ.ว.ร.ส.) เข้าเป็นหลักในการจัดให้มีการพูดคุย เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ
               ร่วมกันระหว่างคนในชุมชน ส่งผลให้จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ชาวชุมชนน้ำเกี๋ยน ได้ใช้เวทีชาวบ้านเข้ามาเป็น

               กลไกสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นปัญหาใหญ่หรือเล็กเพียงใด การจัดการปัญหาของคนในชุมชน

               จะต้องเป็นไปอย่างมีส่วนร่วม โดยอาศัย บ.ว.ร.ส. เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ที่สำคัญคือการดำเนินการ

               ทุกอย่างจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของชุมชน เพื่อให้คนในชุมชน “กินอิ่ม นอนหลับ ฝันดี” การมีส่วนร่วม

               ดังกล่าวได้สร้างสำนึกแห่งความเป็นพลเมืองให้แก่ชาวชุมชนน้ำเกี๋ยนให้งอกงามและเข้มข้นขึ้น ทั้งยังส่งผลให้

               พวกเขารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของชุมชนและมีพลังในการกำกับผู้นำทางการเมืองอีกด้วย ดังปรากฏว่า เมื่อคนใน
               ชุมชนประสบความสำเร็จในการรวมตัวกันจัดการปัญหาการแตกแยกความสามัคคีและสร้างให้ผลประโยชน์

               ของชุมชนเป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินการพัฒนาทุกอย่าง ภายใต้กระบวนการดังกล่าวได้เพิ่มอำนาจ

               ต่อรองทางการเมืองและนำไปสู่การเมืองสมานฉันท์ของคนในชุมชนได้ ดังปรากฏให้เห็นว่าผู้นำท้องถิ่นและ

               ผู้นำท้องที่ในเวลาต่อมาจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาและความสนใจที่คนในชุมชนตั้ง

               ขึ้นมาซึ่งเรียกกันว่าเป็นการ “ส่งไม้ต่อ” จากรุ่นสู่รุ่น


                       จากข้างต้นเป็นความเข้มแข็งของชุมชน อันสืบเนื่องมาจากการตระหนักรู้ของคนในชุมชนที่สามารถ
               เริ่มต้นขจัดปัญหาความขัดแย้งแข่งขันกัน อันเป็นต้นตอของการแตกความสามัคคีของคนในชุมชนการแบ่งฝัก

               แบ่งฝ่ายฝ่ายต่างๆซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชนด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม

               ในบางครั้ง ชุมชนที่สมานฉันท์ก็จำเป็นต้องมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มองเห็นถึงความสำคัญของการมุ่งประโยชน์ของ

               ชุมชนเป็นหลัก กรณีขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนหญ้านาง อำเภอพาชี จังหวัดอยุธยา เป็นอีกกรณีหนึ่งที่

               ชี้ให้เห็นถึงการเมืองท้องถิ่นสมานฉันท์ที่เริ่มต้นขับเคลื่อนมาจากอุดมการณ์ของตัวผู้นำท้องถิ่นเอง จากการที่

               ผู้นำท้องถิ่นมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการเมืองท้องถิ่นสมานฉันท์เป็นหลัก นายกสุรกิจ สุวรรณแกม เล่าให้ฟังถึง
               ประสบการณ์การขับเคลื่อนงานการเมืองท้องถิ่นสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงว่า สืบเนื่องมาจากความ

               ตั้งใจของตนที่จะพัฒนาชุมชนให้มากกว่านี้ จึงได้พยายามแสวงหาการพัฒนาตนเองโดยการเข้าอบรมและ

               เรียนรู้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเรื่อยมา กระทั่งมีโอกาสได้เข้าไปทำงานทางการเมือง




                                                                                                         9
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15