Page 36 - 22353_Fulltext
P. 36
ประโยชน์ส่วนร่วม และพร้อมที่จะเสียสละประโยชน์ระยะสั้นเฉพาะหน้าในการรับเงินและแลกกับคะแนนเสียง
มาสู่การเลือกตั้งที่มีคุณภาพเพื่อสร้างชีวิตที่ดีในอนาคต
จะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างการศึกษาสำหรับพลเมืองเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
ความสำคัญของประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมือง ความสำคัญและบทบาทของพลเมือง กับการเสริม
อำนาจของพลเมือง ทั้งนี้เพราะเมื่อพลเมืองทราบว่าพวกเขามีความสำคัญกับการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร
และประชาธิปไตยสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของเขาอย่างไรแล้ว การมีส่วนร่วมทางการเมืองใน
ระดับต่างๆก็จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จึงกล่าวได้ว่าการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้น
จะต้องเริ่มต้นจากการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยและบทบาทของพลเมืองในระบอบ
ประชาธิปไตยผ่านการส่งเสริมการศึกษาสำหรับพลเมืองก่อนเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม การส่งเสริม
การศึกษาสำหรับพลเมืองก็มีความซับซ้อนและท้าทายในทางปฏิบัติ กล่าวคือเราไม่อาจเสริมสร้างสำนึก
พลเมืองดังกล่าวได้เพียงผ่านการอบรมในห้องเรียนเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีการลงมือปฏิบัติ ฝึกฝนทักษะเพื่อให้
คุณลักษณะต่างๆของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยลงไปสู่สำนึกของผู้คนและดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันด้วย
และที่สำคัญคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแสดงความคิด การแสวงหาและเปิดพื้นที่ให้แก่
พลเมืองได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำร่วมรับผิดชอบไปพร้อมๆกับหน่วยงานภาครัฐและผู้แทนของเขาเพื่อสร้าง
ความรู้สึกเป็นเจ้าของ และรู้สึกถึงการเป็นผู้ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง อันจะส่งผลกระทบต่อการมีส่วม
และคุณภาพของการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระยะยาว
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสมานฉันท์
การเสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคม เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่สังคมให้ความสนใจศึกษา และต้องการ
ผลักดันให้เกิดขึ้นในสังคม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ระบุว่า สมานฉันท์ (สะมานะฉัน
หรือ สะหฺมานนะฉัน) หมายถึง ความพอใจร่วมกัน ความเห็นพ้องกัน เช่น มีความเห็นเป็นสมานฉันท์ คำว่า
สมานฉันท์ เป็นคำสมาส ระหว่างคำว่า ฉันฺท ที่หมายถึง ความพอใจ ความยินดี กับ คำว่า สมาน ซึ่งเป็นได้ทั้ง
คำวิเศษณ์ หมายถึง เสมอกัน เท่ากัน และเป็นได้ทั้งคำกิริยา หมายถึง ติดกันหรือทำให้สนิท อย่างไรก็ตาม
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงความสมานฉันท์ ผู้คนมักใช้คำนี้นอกเหนือไปจากขอบเขตของความหมายที่บัญญัติไว้ใน
พจนานุกรม โดยมักนำไปใช้ในความหมายด้านความสามัคคี การให้อภัยกัน รวมไปถึง การเลิกแล้วต่อกัน
(กรุณา แดงสุวรรณ, 2553 หน้า 16)
ด้วยเหตุนี้ ความสมานฉันท์ จึงมักถูกนำไปปรับใช้กับหลายสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น
รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ จิตวิทยาการเมือง เนื่องจากความสมานฉันท์ได้รับการยอมรับว่าเป็นเป้าหมายสำคัญอีก
ประการของสังคมในการสร้างความสามัคคีอันเป็นพื้นฐานอันดีสำหรับการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า คำอธิบาย
ทางด้านวิชาการเกี่ยวกับความสมานฉันท์ เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นการรับมือกับความคิดความรู้สึกและ
35