Page 40 - 22353_Fulltext
P. 40

จะต้องใช้เวลาและความต่อเนื่อง ดังนั้น จึงควรมีแนวทางการเยียวยาจิตใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทำได้โดยการ

               ทำให้สอดคล้องกับบริบท วัฒนธรรม มุ่งใช้ทรัพยากรของท้องถิ่น เป็นหลัก


                       2) การจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกของคน คือ กระบวนการเปิดเผยอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
               โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาดูแล เพื่อที่ผู้นั้นจะสามารถเยียวยาอดีตและความเจ็บปวดที่เคยเกิดขึ้นได้


                       3) การประชุมกลุ่มชุมชนและกลุ่มครอบครัว รูปแบบนี้ถูกนำมาใช้ในประเทศนิวซีแลนด์

               ในกระบวนการยุติธรรมของเด็กและเยาวชนเมื่อปี ค.ศ.1989 โดยในการจัดประชุมกลุ่มจะมีผู้อำนวยความ

               สะดวกให้ เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายของการประชุมกลุ่ม เพื่อแสวงหาทางออกของปัญหาร่วมกัน ผลกระทบที่

               เกิดขึ้น แนวทางในการปรองดองกันและป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นอีก ซึ่งส่วนใหญ่จะกว้างกว่าการเจรจา

               ไกล่เกลี่ย เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ซึ่งอาจทำให้หาข้อสรุปได้ยาก ทว่าการมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายก็เป็น
               ข้อดีที่ทำให้เมื่อหาข้อตกลงร่วมกันได้แล้วจะสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่คนในชุมชนได้ว่าทุกฝ่ายจะปฏิบัติ

               ในแนวทางเดียวกัน


                       4) คณะกรรมการชุมชน เป็น รูปแบบกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชนประการหนึ่ง ที่มี

               คณะกรรมการชุมชน ประกอบไปด้วยกลุ่มองค์กรในชุมชน กลุ่มผลประโยชน์ในชุมชน และหน่วยงานยุติธรรม

               เป็นผู้ดำเนินการพิจารณาว่าคดีไหนเหมาะสมที่จะนำเข้าสู่การพิจารณา ตลอดจน เตรียมความพร้อมให้แก่

               คู่กรณี เพื่อแสวงหาข้อตกลงที่ทุกฝ่ายเห็นด้วยกัน พร้อมทั้งคอยตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อตกลงของ
               ผู้เกี่ยวข้อง โดยผลของการพิจารณาของคณะกรรมการชุมชนจะถูกส่งไปยังศาลยุติธรรมด้วย ซึ่งอาจกลายเป็น

               ส่วนหนึ่งที่จะถูกนำไปใช้ในการพิจารณาลงโทษทั้งหมดหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจ


                       5) การสานเสวนา เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสร้างความสมานฉันท์ มุ่งเน้นเปิดพื้นทีให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง

               ทุกฝ่ายได้เจรจากัน โดยมีผู้อำนวยการเสวนา กำหนดกติกาในเวทีและกำกับการเสวนาให้เป็นไปโดยสันติเป็น

               กลางเป็นธรรม การสานเสวนาจึงเป็นอีกกลไกกระบวนการสำคัญที่มีศักยภาพนำไปสู่การสร้างความปรองดอง

               ของผู้คนในสังคมได้ การสานเสวนาที่แท้จริงเกิดขึ้นได้เมื่อคู่กรณีมาร่วมกันสนทนาเพื่อนำไปสู่ข้อตกลง ซึ่งการ
               ที่คู่กรณีจะเข้าร่วมกระบวนการได้นั้นก็มีเงื่อนไขหลายประการที่ต้องให้ความสำคัญ อาทิ การเปลี่ยนแปลง

               มุมมองต่อความแตกต่าง ความรู้สึกที่เป็นลบ ความรู้สึกโกรธและเกลียดชังคู่กรณีให้เบาบางลงและเปิดใจ

               ยอมรับให้ได้ก่อน ดังนั้นก่อนที่จะนำคู่กรณีเข้าสู่การเสวนาจึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ความขัดแย้งและ

               ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเพื่อเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นเสียก่อน กระบวนการสานเสวนาจึงจะสามารถนำไปสู่การ

               สร้างความปรองดองได้


               วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งไม่ซื้อสิทธิขายเสียง
                       การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมนับเป็นเป้าหมายสำคัญอีกประการหนึ่งของประชาธิปไตยแบบตัวแทน

               เพราะการได้มาซึ่งผู้แทนที่มีความรู้ความสามารถมีคุณธรรมจริยธรรมอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงผู้ที่มีทรัพย์สินเงิน



                                                                                                       39
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45