Page 45 - 22353_Fulltext
P. 45
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามผลักดันให้เกิดการเลือกตั้งที่โปร่งใสเป็นธรรม และมีความ
สมานฉันท์ ทว่าผลการศึกษาของ ศุทธิกานต์ มีจั่น เรื่อง พฤติกรรมการเลือกตั้ง และทัศนคติเกี่ยวกับการซื้อ
เสียงของเขตจังหวัดภาคอีสาน: กรณีตัวอย่างจังหวัดมหาสารคาม (2556) ได้ชี้ให้เห็นว่ากฎหมายและองค์กรที่
บังคับใช้กฎหมายยังไม่สามารถลดหรือแก้ปัญหาเรื่องการซื้อเสียงได้ แม้ปัจจุบันการซื้อเสียงด้วยทรัพย์สินเงิน
ทองอาจไม่ใช้เงื่อนไขทั้งหมดในการตัดสินใจเลือกผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพราะคุณลักษณะส่วนตัวของ
ผู้สมัคร นโยบายพรรค ได้กลายเป็นอีกเงื่อนไขที่ประชาชนกลุ่มตัวอย่างใช้เพื่อตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
มากขึ้นก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าไม่มีการซื้อเสียงเช่นกัน
ขณะที่ ผลการศึกษาวิจัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งและนโยบายของผู้บริหาร เรื่องการซื้อสิทธิ
ขายเสียงในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น: รูปแบบ วิธีการ สาเหตุและแนวทางป้องกัน (2558) ก็ชี้ไปในทิศทาง
เดียวกันว่า ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นปัญหาใหญ่ที่จะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆในประเทศ อาทิ ปัญหาทุจริต
คอร์รัปชั่น เป็นต้น ซึ่งการซื้อสิทธิขายเสียงนั้นเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับต้นเหตุหลายประการ ทั้งเรื่องโครงสร้าง
ของสังคม การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การไม่ตระหนักถึง
ผลเสียของการซื้อสิทธิขายเสียง รวมไปถึงข้อบกพร่องของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย การปฏิบัติหน้าที่
ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เป็นต้น ดังนั้นในการป้องกันปัญหาดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณา
อย่างรอบด้าน ผ่านอย่างน้อย 5 มิติ ประกอบด้วย 1) มิติด้านผู้สมัคร ในที่นี้หมายถึงผู้สมัครมีประวัติความ
เป็นมาอย่างไรและต้องการลงสมัครเพื่ออะไร การหาเสียงเป็นอย่างไรมีพรรคการเมืองสนับสนุนหรือไม่ 2) มิติ
ด้านประชากร ในที่นี้คือการให้ความสนใจกับโครงสร้างของชุมชนว่าเป็นอย่างไร ชาวบ้านมีวัฒนธรรมเป็น
อย่างไร เข้มแข็งมากน้อยแค่ไหน 3) มิติด้านการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง ในเรื่องของการจัดการเลือกตั้ง
และการตรวจสอบการเลือกตั้ง 4) มิติด้านแนวทางการซื้อสิทธิขายเสียงมีลักษณะอย่างไร มีความซับซ้อนกว่า
อดีตอย่างไร ทำให้จับกุมเอาผิดได้ยากขึ้น และ 5) มิติด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในที่นี้คือกฎหมายมีข้อบกพร่อง
หรือไม่และมีการบังคับใช้อย่างไร
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าแม้จะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงจากหลาย
ฝ่าย ผ่านความพยายามปรับแก้มาตราทางกฎหมายเพิ่มความเข้มข้นของบทลงโทษ เพิ่มโทษทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
สิทธิ พร้อมๆกับจัดกิจกรรมปฏิญาณ/สาบานตน เพื่อสร้างความรู้สึกละอาย สร้างคำมั่นสัญญาตามความเชื่อ
วัฒนธรรม กระนั้น ปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงก็ยังเกิดขึ้นเสมอมา ไม่ได้ลดลงไปแต่อย่างใด ดังนั้น การ
แก้ไขปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงอาจจำเป็นต้องดำเนินกระบวนการอื่นๆควบคู่กันไป เช่นเปิดพื้นที่สาน
เสวนาเพื่อลดความขัดแย้งและความรุนแรงระหว่างผู้สมัคร เป็นต้น
ดังนั้น การจะขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดไปสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือเงื่อนไขที่นำไปสู่การซื้อสิทธิขาย
เสียง โดยจากวรรณกรรมที่สำรวจพบว่า สาเหตุที่นำไปสู่การซื้อสิทธิขายเสียงก็มีหลากหลาย ทว่าจากงาน
44