Page 47 - 22353_Fulltext
P. 47

4.  หลักแห่งฉันทามติ หมายถึง เมื่อสิ้นสุดการสานเสวนากันแล้ว สุดท้ายข้อยุติจะต้องเกิดจากการใช้

                          หลักฉันทามติพูดคุยกันได้เหตุผลข้อเท็จจริงไม่ใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน โดยเป้าหมายสูงสุด
                          คือการแสวงหาข้อตกลงร่วมกันที่อาจเป็นข้อผูกพันในการปฏิบัติระยะหนึ่ง


                       จากหลัก 4 ประการข้างต้น ผู้วิจัยได้นำมาผสานเข้ากับแนวคิดเรื่องการประชาเสวนาซึ่งเน้นเรื่องความ

               เป็นกลางและประโยชน์ส่วนรวม พร้อมกันนี้ผู้วิจัยเลือกนำแนวคิดเรื่องการศึกษาสำหรับพลเมืองมาประยุกต์ใช้

               ด้วยเนื่องจากการสร้างแนวคิดใดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (knowledge) มีการ

               พัฒนาทักษะ (skill) และสร้างทัศนคติที่ตระหนักในศักยภาพของตนและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมไปพร้อมกัน
               (disposition) และจากแนวคิดหลักที่ปรากฎอยู่ในทฤษฎีเหล่านี้ สามารถพัฒนาขึ้นเป็นกรอบการดำเนิน

               โครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงได้ดังต่อไปนี้




                                                      Deliberative Democracy

                                                       (ประชาธิปไตยแบบ

                                                         ปรึกษาหารือ)

                                                  Knowledge    Disposition

                                           Impartiality & Public   Skill   Citizen Dialogue
                                               Interest             (เวทีสานเสวนา
                                          (หลักความเป็นกลางและ       หาทางออก)
                                            ประโยชน์ส่วนรวม)



                       กรอบการดำเนินโครงการข้างต้นเป็นการผสมผสานกันระหว่างการสร้างความรู้ความเข้าใจพัฒนา

               ทักษะและเจตคติให้เกิดขึ้นก่อนจากนั้นนำการเปิดเวทีสานเสวนาหาทางออกมาเป็นเครื่องมือในการสร้างการ

               เรียนรู้เรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเลือกตั้งแบบสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงผ่านการปฏิบัติ
               โดยดำเนินการภายใต้หลักการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ยึดหลักความเป็นกลางและผลประโยชน์

               ส่วนร่วม เพื่อเปิดประตูและสร้างโอกาสให้กับการสร้างความสมานฉันท์ของทุกฝ่าย กระบวนการนี้จะเน้นเปิด

               โอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมมากกว่าการไปลงคะแนนในวันเลือกตั้ง และได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ก่อนที่จะ

               มีการเลือกตั้ง ระหว่างการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงแบ่งแนวทางการดำเนิน

               โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ออกเป็น 3 ระยะ โดยแต่ละระยะจะมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย
               แบบปรึกษาหารือและหลักการสานเสวนาหาทางออกดังนี้









                                                                                                       46
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52