Page 52 - 22353_Fulltext
P. 52

ขอบเขตด้านเนื้อหาและวิธีการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

                       ในส่วนของการดำเนินโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้น ผู้วิจัยได้พัฒนากรอบ
               การส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงขึ้นโดยในนั้นระบุแนวทางการดำเนินโครงการเป็น 3

               ระยะ คือ ระยะก่อนการเลือกตั้ง ระหว่างการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง ครอบคลุมขอบเขตเนื้อหาเรื่อง

               ความสำคัญของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง บทบาทของพลเมืองในการส่งเสริมการเลือกตั้ง

               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสานเสวนาหาทางออก อาทิ เรื่องการฟัง

               อย่างตั้งใจ สุนทรียะสนทนา และการหาฉันทามติ


                       ด้านวิธีการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้น เน้นนำกระบวนการสานเสวนา
               หาทางออกเป็นวิธีการหลักในการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง โดยกระบวนการ

               หลักๆประกอบด้วย การระบุกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง การติดต่อเพื่อเข้าพบและทำความเข้าใจโครงการ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม พร้อมทั้งเชิญชวนผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าสู่เวที

               สานเสวนาหาทางออก ซึ่งในเวทีสานเสวนาหาทางออกจะประกอบด้วย 4 กระบวนการย่อย คือ ช่วงของการ

               ปรับพื้นฐานโดยการให้ความรู้และกำหนดกติการ่วมกัน ช่วงของการนำเสนอของผู้สมัคร ช่วงการแลกเปลี่ยน

               สอบถามระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และช่วงของการทำสัญญาใจ โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาค
               พลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสานเสวนา โดยความร่วมมือจากจังหวัดชัยภูมิ ของ

               ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง

               ประจำจังหวัดชัยภูมิ เทศบาลเมืองชัยภูมิ และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ในการสนับสนุนเรื่ององค์ความรู้

               กฎหมายการเลือกตั้ง การประสานงานเชิญผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระดับจังหวัดและระดับเทศบาลและในการให้

               ความร่วมมือเรื่องสถานที่จัดสานเสวนา


                       2. ส่วนของการประเมินโครงการ
                       แม้ว่าเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินโครงการการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงจะอยู่ที่

               การลดการซื้อสิทธิขายเสียงและการสร้างความสมานฉันท์ภายหลังการเลือกตั้ง ทว่าในความเป็นจริงแล้วการ

               แก้ไขปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลา นอกจากนั้น แท้จริงแล้ว เป้าหมายของ

               การสานเสวนาหาทางออกตามทฤษฎีไม่ได้มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงให้ได้ภายในระยะเวลาอัน
               สั้นแต่มุ่งที่จะลดช่องว่างของประชาธิปไตยแบบตัวแทนลงด้วยการเปิดพื้นที่ให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีโอกาส

               กำหนดชะตาชีวิตของพวกเขาได้มากกว่าเพียงไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น ในการดำเนินโครงการวิจัยเชิง

               ปฏิบัติการนี้ จึงกำหนดเป้าหมายความสำเร็จเอาไว้เป็นระยะ โดยมุ่งหวังว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นแต่ละระยะจะ

               นำไปสู่ผลลัพธ์โดยรวมในเรื่องของการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง


                       ในที่นี้ตามแนวทางการส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่กำหนดไว้จะ

               ประกอบด้วยเป้าหมายระยะสั้น 6 ประการ ประกอบด้วย


                                                                                                       51
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57