Page 57 - 22353_Fulltext
P. 57
บทที่ 4
ผลการศึกษา
ในบทที่ 4 นี้ผู้วิจัยจะนำเสนอผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 เรื่องการศึกษาแนว
ทางการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสานเสวนาหาทางออก
และวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เรื่องการนำแนวคิดหลักการวิธีการของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสาน
เสวนาหาทางออกไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง โดยภายหลังจาก
การดำเนินโครงการได้ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังต่อไปนี้
1. แนวทางการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสาน
เสวนาหาทางออก
การส่งเสริมและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสานเสวนา
หาทางออกภายใต้โครงการนี้ได้แบ่งกระบวนการปฏิบัติงานออกเป็น 3 ระยะ คือระยะก่อนการเลือกตั้ง
ระหว่างการเลือกตั้ง และหลังการเลือกตั้ง ในที่นี้จึงขอเสนอผลการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนเพื่อชี้ให้เห็นว่าการ
ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสานเสวนาหาทางออกผ่าน
กระบวนการทำงาน 3 ระยะนั้นได้ผลเป็นอย่างไร มีข้อใดที่ทำได้ดีหรือข้อใดที่จำเป็นต้องปรับหรือเพิ่มเติม
กระบวนการใดเพื่อให้แนวทางการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและ
การสานเสวนาหาทางออกมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือไม่ซึ่งจะกล่าวไว้ในส่วนอภิปรายต่อไป ซึ่งการดำเนิน
โครงการแต่ละระยะมีผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้
ระยะที่ 1 ก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ผู้ดำเนินโครงการพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายภายหลังมี
ประกาศวันเลือกตั้งจนกระทั่งถึงวันจัดเวทีประชาเสวนาระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในระยะนี้มุ่งหวัง
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทุกฝ่ายเห็นความสำคัญจำเป็นของการเลือกตั้งแบบสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ
ขายเสียงและยินดีที่จะเข้าร่วมโครงการ โดยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการดำเนินโครงการระยะนี้ ผู้วิจัยแบ่ง
กิจกรรมในระยะนี้ออกเป็น 2 กิจกรรมใหญ่ๆ คือ การระบุกลุ่มเป้าหมาย และการเข้าพบกลุ่มเป้าหมายเพื่อ
สร้างความเข้าใจความสำคัญของการดำเนินโครงการซึ่งงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ หน่วยงาน
ราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยมีรายละเอียดการศึกษาดังนี้
1.1 การเข้าพบหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ที่ผ่านมาผู้วิจัยได้เข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าพบผู้นำในพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลผู้ที่คาดว่าจะเป็น
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อขอนัดหมายเข้าพบผู้ที่คาดว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งต่อไปเมื่อมีประกาศให้มีการเลือกตั้ง
ซึ่งการเข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยดี โดยผู้วิจัยได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ (นายกอบชัย
บุญอรณะ) รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายกองค์กรบริหาร
56