Page 60 - 22353_Fulltext
P. 60

ด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้รับการท้วงติงในการเลือกนากยเทศมนตรีเมืองชัยภูมิ เนื่องจากมีผู้สมัครท่านหนึ่งเป็น

               อดีตอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ทำให้การเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิเป็นสถานที่ในการสาน

               เสวนาถูกท้วงติงจากผู้สมัครคนอื่น เนื่องจากพวกเขาเกรงว่าสถานที่ดังกล่าวอาจสร้างความได้เปรียบให้แก่

               ผู้สมัครคนดังกล่าว ทำให้ไม่ต้องการเข้าร่วมหากผู้จัดเลือกใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิเป็นเวทีสาน
               เสวนา แม้ว่าทางอธิการบดีของมหาวิทยาลัยจะยินดีให้การสนับสนุนสถานที่เช่นเดียวกับการจัดเวทีเสวนาใน

               การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ตาม


                       จะเห็นได้ว่าตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งแม้จะมีความสนใจในตัวโครงการ แต่การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ

               นั้นก็มีประเด็นมากมายที่ผู้สมัครห่วงกังวล เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ผู้วิจัยจึงได้ปรับแนวทางการดำเนินการโดย

               นำหลักของการมีส่วนร่วมและหลักความเป็นกลางมาประยุกต์ใช้ โดยให้ผู้สมัครได้มีส่วนร่วมกำหนดกิจกรรม

               และสถานที่ในการจัดเวทีสานเสวนา ซึ่งมีคำแนะนำหลากหลายซึ่งแน่นอนว่าไม่อาจหาข้อสรุปได้ เพราะผู้สมัคร
               บางคนก็เสนอให้ใช้พื้นที่ของเทศบาล บางคนเสนอให้ใช้พื้นที่ของโรงเรียน หรือโรงแรมแทน ดังนั้น สิ่งที่ผู้วิจัย

               ดำเนินการต่อก็คือกลับมาพิจารณาถึงความเป็นกลาง ดังนั้น จึงพิจารณาความเกี่ยวข้องของสถานที่จัดเวที

               เสวนากับผู้สมัครแต่ละรายอีกครั้ง และพบว่าการจัดที่โรงแรมอาจสร้างความสบายใจให้กับผู้สมัครแต่ละฝ่ายได้

               มากที่สุดเพราะไม่เกี่ยวพันกับสถานที่ทำงานในอดีตของผู้สมัครคนไหน ซึ่งเมื่อผู้วิจัยแจ้งผู้สมัครว่าได้เปลี่ยน

               สถานที่การจัดเวทีเสวนาเป็นโรงแรม ทำให้ผู้สมัครมีท่าทีสบายใจมากขึ้น และหมดประเด็นกับเรื่องสถานที่จัด
               งานไปในที่สุด


                       กระนั้น ผู้สมัครยังมีความกังวลต่อกิจกรรมในเวทีสานเสวนาอย่างมาก และได้สอบถามมายังผู้วิจัยทั้ง

               ในช่วงที่ผู้วิจัยเข้าพบตัวต่อตัวและสอบถามผ่านทางโทรศัพท์ ต่อเมื่อผู้วิจัยได้ชี้แจงขั้นตอนในรายละเอียดว่า

               กิจกรรมในการสานเสวนาจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ซึ่งในที่นี้ก็คือการแนะนำตัวเองแนะนำนโยบายและ

               แลกเปลี่ยนตอบคำถามผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยแต่ละกิจกรรมจะมีการกำหนดระยะเวลาไว้อย่างชัดเจน มีการจับ

               เวลาเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกัน และกิจกรรมทุกกิจกรรมจะมีกติกากำกับเช่นในการแสดงความ
               คิดเห็นจะกระทำโดยการเขียน การส่งเสียงโห่ร้องหรือเชียร์ฝ่ายผู้สมัครจะกระทำไม่ได้ในเวที เป็นต้น ซึ่งเมื่อ

               ผู้สมัครได้รับทราบถึงกิจกรรมและกติกาที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ พวกเขามีท่าทีที่ผ่อนคลายลง และจึงตอบรับที่จะ

               เข้าร่วมเวทีสานเสวนาในที่สุด


                       1.3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง


                       ตามทฤษฎีแล้วการเข้าถึงคนกลุ่มนี้ไม่ใช่เรื่องยากนักเมื่อเทียบกับการเข้าหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง เพราะ
               คนกลุ่มนี้ไม่ได้มีเป้าหมายที่เรื่องของการแข่งขันและชัยชนะ แต่อยู่ที่การใช้สิทธิในการเลือกคนดีคนเก่งมาเป็น

               ผู้แทน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติกลับพบว่าการเชิญผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าร่วมเวทีสานเสวนานั้นก็มีข้อพึง

               ระมัดระวังหลายเรื่อง




                                                                                                       59
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65