Page 63 - 22353_Fulltext
P. 63

ว่าเป็นอย่างไร มีความเป็นกลางหรือไม่ จะเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นพิเศษหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษา

               ชี้ให้เห็นว่าเมื่อผู้วิจัยได้นำเอากระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือมาชี้ให้ผู้สมัครได้เห็นความสำคัญ

               ของคะแนนเสียง การให้คุณค่ากับการมีส่วนร่วมผ่านการจัดเวทีประชาเสวนารับฟังความเห็นของทุกฝ่าย และ

               เน้นนำเสนอ “กระบวนการ” ทุกขั้นตอนของเวทีประชาเสวนาอย่างโปร่งใสจริงใจ เพื่อขจัดข้อข้องใจให้แก่
               ผู้สมัครในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นเรื่องคำถาม ระยะเวลา สถานที่ ปฏิกิริยาของผู้เข้าร่วมรับฟัง กองเชียร์ การแสดง

               ความเป็นกลางของผู้อำนวยการเสวนาในเวที เช่น ผู้อำนวยการเสวนาจะไม่เรียกหรือขานชื่อผู้สมัครไม่ว่า

               หมายเลขใด แม้แต่การขานเรียกหมายเลขหนึ่งหมายเลขใด จะมีการเชิญตัวแทนประชาชนมาเป็นผู้ช่วยจับ

               เวลาเพื่อความโปร่งใส มีการเปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้สอบถามแต่ภายใต้กติกาอย่างเคร่งครัด เพื่อแสดง

               ถึงกระบวนการประชาเสวนาที่ “เป็นกลาง” ไม่ทำให้ฝ่ายใดเสียคะแนนหรือ “เสียหน้า” เป็นต้น ผู้วิจัยพบว่า
               กระบวนการที่โปร่งใสเป็นกลางและการดึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้ามามีส่วนร่วมนั้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้การดำเนิน

               โครงการระยะที่ 1 ในช่วงของการสร้างความเข้าใจให้เห็นความสำคัญและเชิญชวนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

               โครงการประสบความสำเร็จ


                       ระยะที่ 2 ระหว่างการเลือกตั้ง ซึ่งเริ่มต้นตั้งจัดเวทีประชาเสวนาระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

               จนถึงวันเลือกตั้ง มีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ การ

               เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง พร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สมัครและผู้
               มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริงของพวกเขา โดยกิจกรรมที่สำคัญในระยะนี้กีคือการจัดเวทีสาน

               เสวนาหาทางออก ซึ่งกำหนดให้มีกิจกรรมอย่างน้อย 4 เรื่องคือ การให้ความรู้ การแนะนำตนเองและนโยบาย

               ของผู้สมัคร การถามตอบระหว่างผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการทำสัญญาใจด้วยฉันทามติ ผลการศึกษา

               พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกตั้งสมานฉันท์มากยิ่งขึ้นว่ามีความหมายอย่างไร

               เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการไม่ซื้อสิทธิขายเสียงกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความกระตือรือร้น

               มีส่วนร่วมซักถามผู้สมัครอย่างมาก อีกทั้งยังมีความพยายามแสวงหาฉันทมติในการส่งเสริมการเลือกตั้ง
               สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงร่วมกัน โดยมีรายละเอียดของผลการศึกษาดังต่อไปนี้


                       2.1 ความรู้ความเข้าใจต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงที่เพิ่มมากขึ้น


                       ในส่วนของความรู้ความเข้าใจของผู้ที่เข้าร่วมเวทีต่อการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงนั้น

               ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักเพื่อวัดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยผู้มีสิทธิ

               เลือกตั้งที่เข้าร่วมเวทีสานเสวนาจะได้รับแบบสอบถามชุดเดียวกันทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมเสวนา เพื่อให้

               พวกเขาได้ทดสอบตนเองว่ามีความรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่ภายหลังจากการเข้าร่วมเวทีสานเสวนา

                       ซึ่งผลของแบบทดสอบในการจัดเวทีสานเสวนา ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

               ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 นั้น มีผู้ที่ส่งแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 136




                                                                                                       62
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68