Page 66 - 22353_Fulltext
P. 66
2.3 ความเคารพต่อกติกาและการยึดหลักประชาเสวนาของผู้เข้าร่วมเวที
นอกเหนือจากความตื่นตัวและความรู้ที่ได้จากเวทีเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขาย
เสียงแล้ว ผลจากการสังเกตยังพบอีกว่าผู้ทั้งผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่างยอมรับกติกาในการสานเสวนาเป็น
อย่างดี โดยผู้สมัครมีความพยายามจะตอบคำถามและนำเสนอนโยบายภายในระยะเวลาที่กำหนด แม้จะมี
ผู้สมัครบางคนที่มีการนำเสนอต่อเนื่องและเกินเวลา แต่ด้วยกระบวนการของเวทีสานเสวนาที่มีการแจ้ง
ระยะเวลาในการนำเสนออย่างชัดเจนตั้งแต่แรก มีการกำหนดกติกา มีการจับเวลาและส่งเสริมให้ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งมีส่วนร่วมในการรักษากติการ่วมกันโดยการปรบมือขึ้นพร้อมกันอย่างต่อเนื่องเมื่อหมดเวลานำเสนอแต่
พบว่าผู้สมัครยังคงพูดอย่างต่อเนื่องเพื่อแสดงออกให้ผู้สมัครได้รับรู้ว่าหมดเวลาตามกติกาแล้วและเพื่อเป็นการ
กดดันทางสังคมให้ต้องรักษากติกา ทำให้ต่อมาผู้สมัครต่างพยายามนำเสนอความเห็นในระยะเวลาที่กำหนดได้
เป็นอย่างดี ในขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็เคารพกติกาในการไม่พูดแทรกระหว่างที่ผู้สมัครกำลังนำเสนอ
แม้ว่าผู้สมัครคนนั้นจะเป็นผู้ที่ตนสนับสนุนหรือไม่ก็ตามจะต้องเปิดใจรับฟังเพื่อเปิดมุมมองของตนให้กว้าง
ออกไป ซึ่งพบว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความร่วมมือและสามารถรักษากติกาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี การแสดงออก
เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงวิถีประชาธิปไตยในการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายที่เริ่มเกิดขึ้นมาภายใต้
ความพยายามสร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลัดกันพูด ผลัดกันฟัง ด้วยภาษาดอกไม้หรือ
สุนทรียะวาจา ไม่มีการโจมตีให้ร้ายกัน ก็ไม่จำเป็นที่แต่ละฝ่ายจะต้องลุกขึ้นมาปกป้องตนเองกระทั่งนำไปสู่การ
ทะเลาะเบาะแว้งระหว่างกันและกันอย่างไม่สิ้นสุด
2.4 การหาเสียงอย่างสร้างสรรค์ไม่โจมตีฝ่ายตรงข้าม
ในส่วนนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ และจากเพจเฟสบุ๊คของผู้สมัครที่สื่อสาร
สู่สังคม โดยผลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการหา
เสียงในการเลือกตั้งปีนี้ (2563-2564) ดีขึ้นกว่าการปราศรัยหาเสียงในปีที่ผ่านมา (2555) โดยผู้ให้สัมภาษณ์เล่า
ถึงบรรยากาศในการหาเสียงให้ฟังว่าส่วนใหญ่เป็นการหาเสียงโดยรถแห่วิ่งหาเสียงตามตรอกซอกซอยไม่ค่อยมี
65