Page 62 - 22353_Fulltext
P. 62
สิทธิเลือกตั้งเข้าร่วมเวทีเสวนานั้น จากการระดมความคิดเห็นสรุปได้ว่า การเรียนเชิญผ่านผู้นำชุมชนเป็น
หนทางที่ดีที่สุดเนื่องจากจะช่วยสร้างความไว้วางใจได้มากกว่าการเรียนเชิญจากผู้วิจัยโดยตรง อีกทั้งการเชิญ
ผ่านผู้นำชุมชนยังช่วยให้ได้ผู้ที่เข้าร่วมเวทีครอบคลุมทั้ง 8 กลุ่มเป้าหมายอีกด้วย
โดยจากกรอบการเลือกผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าร่วมเวทีสานเสวนาข้างต้น ผู้วิจัยได้ประสานไปยังหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเรียนเชิญกลุ่มเป้าหมายตามประเภทและจำนวนที่กำหนดไว้ โดยการจัดเวทีสานเสวนาใน
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้วิจัยได้ประสานไปยังจังหวัดชัยภูมิให้ช่วยประสานนายอำเภอ
เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวการจัดเวทีสานเสวนาดังกล่าวออกไป ขณะที่ ในการจัดเวทีสานเสวนาในการเลือกตั้ง
นายกเทศมนตรีเมืองชัยภูมิ ได้ประสานขอความร่วมมือไปยังเทศบาลเมืองชัยภูมิเพื่อเรียนเชิญตัวแทนผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งจาก 25 ชุมชนเข้าร่วมในเวที ซึ่งทั้งสองหน่วยงานให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเรียนเชิญผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งเข้าร่วมเวทีสานเสวนา โดยในการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีผู้เข้าร่วมในเวทีซึ่งจัดขึ้นที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 160 คน ส่วนในเวทีสานเสวนาการเลือกตั้ง
นายกเทศมนตรีเมืองชัยภูมิมีผู้เข้าร่วมในเวทีซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมในวันที่ 17 มีนาคม 2564 จำนวน 200 คน
ตามที่กำหนดไว้ แต่อันที่จริงเทศบาลเมืองชัยภูมิได้แจ้งว่ามีผู้ที่สนใจเข้าร่วมในเวทีสานเสวนาการเลือกนายก
เทศบาลเมืองชัยภูมิจำนวนมากนั้น ทว่าเนื่องด้วยข้อจำกัดของสถานที่และเพื่อประสิทธิภาพในการสานเสวนา
จึงจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมในเวทีไว้ไม่เกิน 200 คน แต่เพื่อแก้ไขปัญหาจำนวนผู้ที่มีความสนใจอยากรับฟังการ
เสวนาในเวทีทางเทศบาลเมืองชัยภูมิจึงได้จัดให้มีการไลฟสดการเสวนาผ่านเพจ Facebook ของเทศบาลด้วย
จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า การเรียนเชิญกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นแม้ไม่ใช่เรื่องยากเท่ากับการเชิญ
ผู้สมัคร ทว่าก็มีข้อท้าทายอยู่ในเรื่องของความไว้วางใจและการยินดีสละเวลาของพวกเขาจากภาระงานที่ทำ
เพื่อเข้าร่วมเวทีสานเสวนา ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาตามความเหมาะสมของ
บริบท ซึ่งในกรณีของจังหวัดชัยภูมิการแบ่งกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนและประสานผ่านไปยังหน่วยงาน
ราชการนั้นนับว่าได้ผลดีและได้จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ต้องการเชิญเข้าร่วมเวทีเสวนาตามจำนวนที่กำหนดไว้
สรุปผลการศึกษาในระยะที่ 1 ได้ว่า ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่างเล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินโครงการ
เลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงและยินดีเข้าร่วมโครงการ สิ่งนี้แสดงให้เห็นได้ประการหนึ่งว่าทั้ง
ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่างเล็งเห็นว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมามีความสุ่มเสี่ยงต่อประเด็นปัญหาต่างๆดังที่
ผู้วิจัยได้นำเสนอไว้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแข่งขันที่รุนแรง การซื้อเสียง ความขัดแย้งอันเกิดขึ้นภายหลัง
การเลือกตั้งกระทั่งทำให้ชุมชนแตกความสามัคคีไม่สามารถร่วมกันพัฒนาชุมชนต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม
แม้แต่ละฝ่ายจะเห็นความสำคัญของการดำเนินโครงการดังกล่าว ทว่าด้วยผลประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป
ระหว่างผู้สมัคร ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครแต่ละฝ่าย ความสนใจต่อโครงการเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอต่อ
การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ดังจะเห็นได้ว่าในส่วนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องการ
ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนั้นดูจะเป็นไปได้ง่ายกว่าผู้สมัครที่มักจะตั้งคำถามกับกระบวนการที่ผู้วิจัยดำเนินการ
61