Page 61 - 22353_Fulltext
P. 61
ผลจากการพูดคุยเชิงลึกกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและองค์กรเครือข่ายที่ดำเนินโครงการนี้
ร่วมกันอย่างมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิได้ข้อสรุปว่าการเชิญผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนเข้าร่วมเวทีเสวนาเป็นไป
ไม่ได้ จำเป็นต้องเลือก เนื่องจากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีมากเกินไป ที่จะทำให้การจัดเวทีสานเสวนาหาทาง
ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม จำนวนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะเข้าร่วมในเวทีก็ยังขึ้นอยู่กับรูปแบบ
กิจกรรมด้วย กล่าวคือ หากรูปแบบกิจกรรมเป็นการเสวนาที่เปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น จำนวน
ของผู้เข้าร่วม ไม่ควรมากเกิน 50 คนต่อเวที กระนั้น ในเวทีสานเสวนาหาทางออกของการส่งเสริมการเลือกตั้ง
สมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงที่กำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วมไว้ด้วยวิธีการเขียนแสดงความคิดเห็นเป็น
หลักนั้น อาจมีจำนวนผู้เข้าร่วมได้มากกว่า เนื่องจากวิธีการเขียนแสดงความคิดเห็นสามารถครอบคลุมผู้ที่มี
ส่วนร่วมได้จำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้นในการจัดเวทีสานเสวนาหาทางออกผู้วิจัยจึงได้กำหนดไว้ให้มี
ผู้เข้าร่วมไม่เกิน 200 คนต่อเวที ซึ่งแม้จำนวนดังกล่าวยังนับเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้มีสิทธิ์
เลือกตั้งในพื้นที่ ทว่าก็เป็นจำนวนที่เหมาะสมกับการเสวนาและลักษณะของกิจกรรมที่จัดมากที่สุด และผู้มีสิทธิ
ที่ได้รับเชิญมานั้นก็มาจากตัวแทนของกลุ่มต่างๆในชุมชน
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่สามารถเชิญเข้าร่วมเวทีได้มีอยู่จำกัด การพิจารณาการ
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผลการหารือร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ได้ข้อเสนอแนวทางการเข้าถึง
กลุ่มเป้าหมายไว้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 เป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีการสุ่ม ส่วนรูปแบบที่ 2 เป็น
การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
ในส่วนของการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีการสุ่มนั้น ข้อดีคือเป็นการเลือกผู้ที่เข้าร่วมเวทีเสวนาที่ดู
จะสร้างความสบายใจให้แก่ผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งได้มากที่สุด กระนั้น การเลือกผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อเข้าร่วมเวทีด้วย
การสุ่มก็มีความเสี่ยงต่อการได้มาซึ่งผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา เนื่องจากเงื่อนไขหลายประการ ตั้งแต่เรื่องของความ
ไม่ไว้วางใจผู้จัด ความไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมในเวทีในเขตอำเภอเมืองได้เนื่องจากขาดรถยนต์และการ
เดินทางไม่สะดวก รวมไปถึงประเด็นเรื่องการขาดงานซึ่งอาจทำให้ขาดรายได้ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่อาจทำให้พวก
เขาตัดสินใจไม่เข้าร่วมเวทีเสวนาได้ เมื่อเป็นเช่นนี้เวทสานเสวนาอาจไม่ครบองค์ประชุมได้
ดังนั้น ผู้วิจัยและองค์กรเครือข่ายจึงตกลงร่วมกันที่จะเลือกกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเข้า
ร่วมเวทีเสวนาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยการเลือกแบบเจาะจงในที่นี้ ยังคงตั้งอยู่บนหลักวิชาการโดย
นำเอาการแบ่งช่วงชั้นมาใช้ร่วมกันเพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในชุมชน ซึ่งในที่นี้และแบ่งออกเป็น
8 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ตัวแทนภาครัฐ ในส่วนของกำนันผู้ใหญ่บ้านหรือประธานชุมชน ตัวแทนภาค
ประชาชนผู้สนใจและกลุ่มต่างๆ ตัวแทนภาคเอกชนที่ไม่ใช่ภาครัฐ (NGOs) หรือองค์กรสาธารณะประโยชน์
ตัวแทนสถานศึกษา ตัวแทนกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ตัวแทนเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตัวแทน
ศาสนา และตัวแทนจากศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) โดยในส่วนของการเรียนเชิญผู้มี
60