Page 53 - 22353_Fulltext
P. 53
1. ผู้เข้าร่วมเวทีมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือและการสาน
เสวนาหาทางออก เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่าแท้จริงแล้วพลเมืองมีสิทธิเสรีภาพและมีโอกาสในการพัฒนา
การเมืองได้มากมายและหนึ่งในนั้นก็คือการเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดกติการในการเลือกตั้งและคุณสมบัติของผู้
แทนที่พึงปรารถนาร่วมกันตั้งแต่ช่วงต้นของการเลือกตั้ง พร้อมทั้งตระหนักได้ว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของการ
ผลักดันให้เกิดการเลือกตั้งที่บริสุทธิยุติธรรมได้โดยการจับตามองการเลือกตั้ง ไม่รับทรัพย์สินเงินทองเพื่อแลก
กับคะแนนเสียง
2. ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าใจโครงการและยินดีเข้าร่วมเวทีสานเสวนาหาทางออก โดยผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องสามารถสรุปได้ 3 กลุ่มหลักคือ ภาครัฐหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ซึ่งครอบคลุมตัวแทนจาก 8 กลุ่มเป้าหมายดังที่กล่าวถึงข้างต้น
3. ผู้เข้าร่วมเวทีตื่นตัวร่วมกำหนดกติกาในการเลือกตั้ง และร่วมเผยแพร่โครงการนี้ ในที่นี้หมายถึง
การที่ผู้เข้าร่วมเวทีมีความรู้สึกสนใจตื่นตัวซักถามและทำกิจกรรมในเวทีเสวนา รวมไปถึงมีการบอกกล่าว
เผยแพร่โครงการนี้ออกไปผ่านช่องทางต่างๆ
4. ผู้สมัครให้ความสำคัญกับการหาเสียงเชิงสร้างสรรค์ไม่โจมตีฝ่ายตรงข้าม กล่าวคือ ผู้สมัครรับ
เลือกตั้งควรตระหนักถึงบทบาทในการเป็นผู้แทนของพวกเขาว่ามีความสำคัญและควรได้มาด้วยความสามารถ
และความเสียสละอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงควรเน้นการหาเสียงเชิงสร้างสรรค์เน้นการนำเสนอนโยบายมากกว่าที่
จะเน้นหาเสียงด้วยการโจมตีผู้สมัครคนอื่นๆ
5. ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งยอมรับผลการเลือกตั้งได้ ไม่มีการคุกคามหรือก่อกวนผู้สมัครที่ชนะ
การเลือกตั้งหรือแพ้การเลือกตั้ง
6. การฟ้องร้องคดีความเกี่ยวกับการเลือกตั้งลดลง หรือไม่เพิ่มเติมไปจากเดิม
ข้างต้นเป็นเป้าหมายระยะสั้นที่ผู้วิจัยคาดหวังว่าจะสามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาที่ดำเนิน
โครงการนี้ เพื่อสุดท้ายแล้วจะนำไปสู่เป้าหมายสำคัญของการเลือกตั้งที่จบลงด้วยความสมานฉันท์ ที่ผู้สมัคร
และผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกฝ่ายต่างยอมรับกันและกัน ตลอดจนการซื้อสิทธิขายเสียงลดลงหรือหมดไปในท้ายที่สุด
วิธีการประเมินโครงการ
จากแนวทางการดำเนินโครงการและเป้าหมายที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัย
ในส่วนของการประเมินโครงการขึ้นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณแบบ
70:30 กล่าวคือเน้นไปที่การวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์และการสังเกตเป็นหลัก ส่วนการวิจัยเชิง
ปริมาณนั้นเป็นการเก็บข้อมูลผ่านแบบทดสอบและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างเพื่อประเมินความเข้าใจ
ของผู้เข้าร่วมเวทีสานเสวนาว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมานฉันท์ที่เพิ่มมากขึ้นหรือไม่อย่างไร
52