Page 54 - 22353_Fulltext
P. 54
กลุ่มตัวอย่าง: คือผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าร่วมเวทีสานเสวนาหาทางออก โดยการ
เข้าถึงกลุ่มตัวอย่างจะแบ่งออกเป็นการเข้าถึงจากเวทีสานเสวนาในช่วงแรกเพื่อเก็บข้อมูลความเข้าใจที่
เปลี่ยนแปลงไปผ่านแบบทดสอบ และการเข้าถึงช่วงที่สองภายหลังการจัดเวทีเสวนาสิ้นสุดลงเพื่อสอบถามถึง
บรรยากาศของการหาเสียงเลือกตั้งและการขยายผล โดยการเข้าถึงในช่วงนี้จะใช้การสุ่มแบบเป็นระบบ
ซึ่งจากการคำนวน กลุ่มตัวอย่างจากผู้ที่เข้าร่วมเวทีราว 150-200 คน ด้วยค่าความเชื่อมั่น 90 ค่าความ
ผิดพลาดร้อยละ 5 จะได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 97-116 คน
เมื่อได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงนำรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมเวทีเสวนามาเรียงตามตัวอักษรแบ่งตาม
อำเภอ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างกระจายตัวเท่าๆกันในแต่ละอำเภอ จากนั้นคำนวนหาช่วงชั้นจากค่าเฉลี่ยของผู้ที่
เข้าร่วมแต่ละอำเภอซึ่งอย่างน้อยอยู่ที่ 160 คน (10 คนต่ออำเภอ) ซึ่งจะได้ 1.666 หรือ 2 เพื่อนำมาใช้เป็น
ตัวเลขระยะห่างของการสุ่มรายชื่อผู้ที่จะเป็นตัวอย่างในการสัมภาษณ์ต่อไป การสุ่มกลุ่มตัวอย่างจะเริ่มต้นจาก
หมายเลขที่สุ่มจากคำสั่ง Randbetween จากนั้นจึงนับตามระยะห่างของช่วงชั้นไปกระทั่งครบตามจำนวน
กลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ
วิธีการเก็บข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้: การเก็บข้อมูลใช้วิธีการผสมผสานระหว่างการสัมภาษณ์
การสังเกตุ การทำแบบทดสอบและการจัดสนทนากลุ่ม (focus group) โดยเครื่องมือที่ใช้ร่วมกันคือแบบ
สัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) และแบบทดสอบ ซึ่งแต่ละวิธีการมีรายละเอียดดังนี้
การทำแบบทดสอบ ในส่วนนี้เป็นการที่ผู้เข้าร่วมเวทีเสวนาในส่วนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องประเมิน
ความรู้ของตนเองทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมเวทีเสวนาในประเด็นคำถามที่ผู้วิจัยกำหนดไว้เพื่อวัดความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียง โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าร่วมเวที
เสวนาทุกคนจะได้รับแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังการเสวนา
การสังเกตุ ในที่นี้ผู้วิจัยเลือกใช้การสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม (non participatory
observation) เพื่อพิจารณา 3 เรื่อง ประกอบด้วย บรรยากาศในการเสวนา ลักษณะท่าทางและท่าทีในการ
แสดงความคิดเห็นของผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าร่วมเวทีสานเสวนา และพิจารณาตัวบท (text) หรือ
เนื้อหาที่ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าร่วมเวทีสานเสวนาแสดงความคิดเห็น
การสัมภาษณ์ ในที่นี้ใช้การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) เป็นหลักเพื่อ
ให้ผลการสัมภาษณ์สามารถนำมาเปรียบเทียบกันในสาระสำคัญได้ โดยการสัมภาษณ์นี้จะเป็นวิธีที่ดำเนินการ
หลังสุดภายหลังเสร็จสิ้นเวทีเสวนาแล้ว โดยกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์จะได้มาจากการสุ่มอย่างเป็นระบบ
เพื่อสอบถามถึงบรรยากาศในการหาเสียงเลือกตั้งว่ามีลักษณะเช่นใด ยังมีการโจมตีกันหรือไม่หรือว่าเป็นไป
ในทางสร้างสรรค์อย่างไร มีการมอบทรัพย์สินเงินทองเพื่อแลกกับคะแนนเสียงเกิดขึ้นหรือไม่ และพวกเขามี
การขยายผลโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์และไม่ซื้อสิทธิขายเสียงไปสู่ผู้อื่นๆในชุมชนหรือไม่อย่างไรด้วยวิธีการ
ใด
53