Page 44 - 22353_Fulltext
P. 44

แม้ว่าบางฝ่ายอาจมองว่าเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะโดยตัวของ

               การกระทำไม่ได้ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากนัก การตัดสินใจของผู้คนนั้นเกี่ยวพันกับ

               ระบบวัฒนธรรมและผลประโยชน์อื่นๆประกอบกัน กระนั้น โดยข้อเท็จจริงก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการซื้อสิทธิขาย

               เสียงนั้นทำให้เกิดธนกิจการเมืองขนาดใหญ่ ที่ทำให้การซื้อขายตำแหน่งเกิดขึ้นได้ เป็นขบวนการที่มีการลงทุน
               และมีการถอนทุนคืนอย่างเป็นระบบซึ่งบั่นทอนคุณภาพประชาธิปไตยและคุณธรรมทางการเมืองของผู้แทน

               ในระยะยาว การซื้อสิทธิขายเสียงโดยตัวมันเองอาจไม่ได้เป็นปัญหาโดยลำพังแต่โดยตัวมันเองก็สะท้อนให้เห็น

               สาเหตุและเป็นหนึ่งในสาเหตุของประชาธิปไตยที่อ่อนคุณภาพ ดังนั้น การขจัดแนวคิดของการ “ซื้อ - ขาย”

               สิทธิให้หมดไปจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำเพื่อเพิ่มพื้นที่และโอกาสในการพิจารณาเลือกผู้แทนอย่างเป็นเหตุเป็นผล

               ที่ตั้งอยู่บนสาธารณะประโยชน์ให้มากขึ้น


                       ในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการไม่ซื้อสิทธิขายเสียงอย่างมาก โดยในกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น
               6 ฉบับที่มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนั้นจะเห็นได้ว่ามีการเพิ่มโทษสำหรับผู้ที่กระทำความผิดในการซื้อสิทธิขาย

               เสียงเอาไว้อย่างมาก อาทิ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563 ได้

               มีการเพิ่มโทษผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เรียกรับผลประโยชน์ต่างเพื่อแลกกับคะแนนเสียงไว้ด้วยไม่ใช่เพียงผู้ที่เสนอว่า

               จะให้ทรัพย์สินเงินทองต่างๆเท่านั้น ดังปรากฎอยู่ใน มาตรา 92 ที่ห้ามมิให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ใดเรียก รับ หรือ

               ยอมจะรับเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเพื่อลงคะแนนเลือกหรือลงคะแนนไม่เลือก
               ผู้สมัครผู้ใด หรืองดเว้นไม่ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครผู้ใด นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดทั้งผู้ที่ซื้อ

               และผู้ที่ขายสิทธิด้วย ดังปรากฏใน มาตรา 126 ที่ระบุโทษระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่

               2 หมื่นบาทถึง 2 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี กรณี

               ที่ผู้นั้นเรียกรับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้สำหรับตนเองหรือ

               ผู้อื่นเพื่อให้ตนสมัครรับเลือกตั้ง ไม่เฉพาะผู้ที่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

               ลงคะแนนให้แก่ตนเองเท่านั้น

                       นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งยังได้ดำเนินโครงการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ ภายใต้

               ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ พ.ศ.2550 ด้วย โดยเน้นสร้างความรู้

               ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ให้ความรู้ด้านกฎหมาย บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งทุก

               ระดับ พร้อมกับสร้างการยอมรับ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รู้รักสามัคคี เพื่อรักษาความเป็นมิตรเป็นเพื่อนบ้านและ

               ความเป็นญาติพี่น้องในท้องถิ่น ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง โดยกิจกรรมภายใต้โครงการนี้มีอยู่ 2 กิจกรรม
               หลักๆคือ 1) จัดประชุมให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นให้แก่ ผู้สมัคร ผู้สนับสนุน

               และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง และ 2) จัดพิธีปฏิญาณ/สาบานตน สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเชิญ

               ผู้ที่เกี่ยวข้องมาเป็นสักขีพยาน






                                                                                                       43
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49