Page 43 - 22353_Fulltext
P. 43
ต้องจับตามอง สิ่งหนึ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือความรุนแรงอันเนื่องมาจากสภาพภัยธรรมชาติหรือเศรษฐกิจนั้น
อาจเสริมแรงให้การเลือกตั้งสิ้นสุดลงที่ความขัดแย้งได้ และอาจทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าความรุนแรง
ดังกล่าวเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจสังคมหรือว่าปัญหาการเมือง
ด้านกลุ่มงานที่มองว่าการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นปรากฏการณ์ของการต่อสู้ทางวัฒนธรรมประเภทหนึ่ง
มีอาทิ งานของวิภาวดี พันธุ์ยางน้อย ในบทความเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางการเมืองของสังคมชนบทสมัยใหม่:ว่าด้วย
การพัฒนา ความเหลื่อมล้ำ การเลือกตั้ง และวาทกรรมการซื้อสิทธิขายเสียง” (2556 หน้า 95-137) ที่พยายาม
ชี้ให้เห็นถึงความลำบากของคนชนบทที่ขาดการคุ้มครองจากระบบประกันสังคม สวัสดิการด้านเศรษฐกิจ และ
ขาดแหล่งทุนรองรับความผันผวนของระบบตลาด การที่คนชนบทเลือกพรรคการเมืองที่นำโดยทักษิณ ชินวัตร
นั้นเป็นเพราะว่าพวกเขาไม่เคยได้รับนโยบายที่เชื่อมโยงกับความเป็นอยู่ของพวกเขามาก่อนกระทั่งยุคของ
ทักษิณ สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาพร้อมที่จะลงคะแนนให้กับพรรคที่นำโดยทักษิณ ทว่าด้วยนโยบายที่เป็นประชา
นิยมที่ทักษิณดำเนินการและเป็นหนึ่งในการหาเสียงกลับทำให้คะแนนเสียงของคนเหล่านี้ถูกลดทอนความชอบ
ธรรมลงด้วยวาทกรรมการซื้อสิทธิขายเสียงทั้งๆที่การลงคะแนนเสียงของพวกเขานับเป็นหนึ่งในวิธีการต่อรอง
ทางอำนาจของคนชนบทเท่าที่พวกเขาจะมีโอกาสทำได้
งานของ ชัยพงษ์ สำเนียง เรื่อง “การซื้อสิทธิขายเสียงในฐานะการเมืองของการต่อรองอัตลักษณ์”
(2561 หน้า 1-48) นับเป็นงานอีกชิ้นหนึ่งที่พยายามชี้ให้เห็นว่าการซื้อสิทธิขายเสียงนั้นเป็นการต่อสู้กลับของ
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ค่อยได้รับโอกาสหรือพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น น้อยนักที่ผู้มีอำนาจจะรับฟัง
เสียงประชาชน ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงฤดูกาลเลือกตั้ง การเลือกตั้งจึงนับเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ประชาชนจะ
ใช้เพื่อ “เปิดพื้นที่” สร้างสายสัมพันธ์ใหม่กับรัฐ ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ใช่กลุ่มคนที่ไร้
ความสามารถในการตรึกตรองขบคิดกับตัวผู้สมัครหรือนโยบาย งานชิ้นนี้จึงตีความให้ “การซื้อสิทธิขายเสียง”
นั้นเป็นมายาคติ ที่แท้จริงแล้วมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนอย่างมากไม่ใช่เพียงการได้รับเงินทองเพื่อแลกกับคะแนนเสียง
อย่างตรงไปตรงมา แต่มีความซับซ้อนและมีปัจจัยเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผลประโยชน์ส่วนตัว (individual benefits) ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวซึ่งอาจไม่ใช่ตัวเงินเพียงอย่างเดียว
รวมไปถึงความสม่ำเสมอของผู้สมัครในการปฏิบัติกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่า “เบี้ยขยัน” ด้วย
นอกจากนั้นยังรวมไปถึงปัจจัยทางด้านวัฒนธรมทั้งความสัมพันธ์ทางครอบครัว เครือญาติ ที่จะเป็นกลไกกำกับ
การตัดสินใจไปพร้อมกันไม่ใช่เพียงตัวเงินหรือผลประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา การซื้อเสียงเพียงอย่างเดียว
นับเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเพียงเล็กน้อยเพราะต้องประกอบกับปัจจัยอื่นๆอีกในการที่ผู้คนจะตัดสินใจเลือกตั้ง
จากข้างต้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างไม่อาจปฏิเสธได้
กรณีของประเทศเคนยาเองก็ชี้ให้เห็นว่าการซื้อเสียงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศเช่นกัน ในแง่นี้
อาจมองได้ว่าการซื้อสิทธิขายเสียงอาจเป็นปรากฏการณ์ที่ย่อมมาพร้อมกับการเลือกตั้งสมัยใหม่ก็เป็นได้ และ
42