Page 39 - 22353_Fulltext
P. 39
เหล่านี้ให้หมดไปก่อนเพื่อให้การจัดการปัญหาอาชญากรรมมีประสิทธิภาพ ในแง่นี้ผู้ที่จะเป็นอาชญากร ไม่
จำเพาะว่าจะเกิดขึ้นกับปัจเจกบุคคลเท่านั้นแต่อาจเป็นสถาบันหรือแม้แต่รัฐได้เช่นกัน กรณีที่รัฐใช้นโยบายที่
โหดร้ายทารุณ ละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นทฤษฎีเชิงสมานฉันท์จึงเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาอาชญากรรม
ด้วยการเปลี่ยนจากแนวทางที่เป็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal justice) ไปสู่การใช้กระบวนการ
ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative justice) (Pepinsky & Quinney, 1991)
ทฤษฎีความละอายเชิงบูรณาการ (Reintegrative shaming theory) แนวคิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดย
จอห์น เบรทเวท (John Braithwaite) นักอาชญาวิทยาชาวออสเตรเลียในปี 1989 โดยแนวคิดนี้เป็นการรวม
เอาทฤษฎีทางสังคมศาสตร์และจิตวิทยาหลากหลายทฤษฎีเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการเรียนรู้ทาง
สังคม การควบคุมกดดันทางสังคม การประทับตรา และแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมรองมาประกอบกัน เพื่ออธิบาย
ว่าเพราะอะไรจึงทำให้บางสังคมมีอาชญากรรมมากกว่าบางสังคม อะไรเป็นสาเหตุของการเกิดอาชญากรรม
จำนวนมากเหล่านั้น โดยข้อเสนอทางทฤษฎีนี้คือสังคมนั้นขาดประสิทธิภาพในการสร้างให้ผู้คนในสังคมละอาย
ใจต่อการกระทำผิด ซึ่งการขาดความละอายนี้ มีหลายสาเหตุ อาทิ ความรู้สึกผูกพันทางสังคมที่ลดน้อยลง
พวกเขาไม่รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงไม่รู้สึกว่าการทำให้คนอื่นในสังคมเดือดร้อนเป็นความผิด ดังนั้น
การแก้ไขปัญหาประการหนึ่งเพื่อลดอาชญากรก็คือการทำให้อาชญากรรู้สึกผูกพันกับสร้างคม ต้องสร้างการ
ยอมรับและนำผู้กระทำผิดกลับเข้าสู่สังคม (Reintegrative shaming) ดังนั้น การสร้างความละอายในที่นี้จึง
แตกต่างออกไปจากการสร้างความละอายเพื่อนำไปสู่การแบ่งแยกและลงโทษทางสังคม (Braithwaite, 1989)
จากแนวคิดเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าการปรับความคิดเป็นสิ่งสำคัญ และเป็น
พื้นฐานหลักที่จะนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเชิงบวกและสร้างความสมานฉันท์ได้ ดังที่
ประเวศ วะสี (2548 อ้างถึงใน ไชยรัตน์ ปราณีและคณะ, 2553) กล่าวถึงแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ว่า
จะต้องเริ่มจากสิ่งที่ “ถูกต้อง” อย่างน้อย 4 อย่าง คือ 1) คิดถูก ในที่นี้คือการเคารพศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็น
มนุษย์ คิดถึงส่วนรวม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และมีกรุณาเป็นพื้นฐานของจิตใจ 2) พูดถูก คือ พูดความจริง
ใช้ปิยวาจา ไม่ส่อเสียดยุดยงให้เกลียดชังแกตแยก พูดแล้วเกิดประโยชน์ 3) ทำถูก คือ ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่หวัง
ร้าย เกื้อกูลกัน 4) มีความสัมพันธ์ที่ถูก คือ มีความยุติธรมเป็นธรรมทางสังคม สังคมจึงจะมีความสมานฉันท์ได้
สำหรับเครื่องมือในการสร้างความปรองดองเพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เกิดความไว้วางใจ
ซึ่งกันและกัน เอาใจเขามาใส่ใจเราและมีวัฒนธรรมประชาธิปไตย มีหลากหลายวิธี ดังนี้
1) การเยียวยาจิตใจ คือ การให้ความช่วยเหลือด้านสังคมจิตใจ โดยกระทำได้หลากหลายวิธี อาทิ
แสดงความห่วงใจ ใส่ใจ ให้กำลังใจ ให้การดูแลแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง/
วิกฤตต่างๆ เพื่อให้บุคคลสามารถปรับตัวและกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ การเยียวยาจิตใจที่มีประสิทธิภาพ
38