Page 41 - 22353_Fulltext
P. 41

ทองหรือพวกมากลากไปนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ตลอดจน ส่งเสริมต่อ

               คุณภาพชีวิตของประชาชนได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคิดและมีความพยายามศึกษาแนวทางเพื่อส่งเสริมการ

               เลือกตั้งให้มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมและไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงอยู่ไม่น้อย ผลจากการสำรวจวรรณกรรมที่

               เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยสามารถแบ่งกลุ่มวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกเป็น
               กลุ่มที่มองว่าการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นเพราะจะบั่นทอนคุณภาพประชาธิปไตย จึงได้

               พยายามตีความการซื้อสิทธิขายเสียงและอธิบายการซื้อสิทธิขายเสียงในรูปแบบต่างๆ พร้อมทั้ง ศึกษาเงื่อนไข

               ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการซื้อสิทธิขายเสียงและหนทางแก้ไข ส่วนอีกกลุ่มจะมองว่าการซื้อสิทธิขายเสียงนั้นเป็น

               เรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องธรรมดาในการแข่งขัน ทว่าการซื้อสิทธิขายเสียงกลับมีความซับซ้อนและในความ

               เป็นจริงการซื้อสิทธิขายเสียงอาจไม่ได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้คนมากนักและมีปัจจัยอื่นๆเข้ามา
               เกี่ยวข้องด้วย การอธิบายของนักวิชาการกลุ่มนี้มีข้อสรุปว่าการซื้อสิทธิขายเสียงนั้นถูกทำให้เป็นวาทกรรมเพื่อ

               ลดทอนคุณค่าคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งในชนบทเป็นหลัก ซึ่งควรถูก

               ทำความเข้าใจเสียใหม่ถึงความลึกซึ้งของเรื่องนี้เพื่อให้การแก้ไขปัญหาตรงจุดมากยิ่งขึ้น


                       สำหรับตัวอย่างงานวรรณกรรมกลุ่มแรกมีอาทิงานของ วิไลวัจส์ กฤษณะภูติ เรื่อง “แนวทางการ

               ป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ตามความคิดเห็นของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

               ( 2557 หน้า 64-75) ซึ่งผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการซื้อสิทธิขายเสียงยังคงเกิดขึ้นในการเลือกตั้งในภาค
               ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยหัวคะแนนจะมีวิธีการซื้อคะแนนเสียงหลากหลายรูปแบบ อาทิ มอบเสื้อผ้า ของใช้

               เงินทอง ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น โดยมูลค่าอยู่ที่ประมาณคนละ 500 บาท ถึง 1,000 บาท และ 2,000

               บาทในบางราย โดยอัตราค่างวดที่ให้นั้นสูงกว่าการเลือกตั้ง สส. และ สว. ระดับชาติเสียอีกโดยอาจใช้การแบ่ง

               ให้หลายครั้ง นอกจากนั้นก็มีการเลี้ยงอาหาร แบ่งอาหารไปบริโภคกัน นำหัวคะแนนไปทัศนศึกษา จัดพาหนะ

               รับ-ส่งผู้เลือกตั้ง ให้ความช่วยเหลือ ร่วมงานบวชงานแต่งต่างๆ สิ่งเหล่านี้จัดอยู่ในนิยามเรื่องการซื้อเสียงของ

               งานวิจัยชิ้นนี้ทั้งสิ้น โดยงานชิ้นนี้เสนอว่าแนวทางป้องกันการซื้อเสียงจำเป็นต้องให้การศึกษาแก่ประชาชน
               ตั้งแต่ระดับนักเรียนเป็นต้นไป ปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และ

               ต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง รวมไปถึงควรมีการออกกฎหมายลงโทษผู้ที่ขายเสียงรวมไปถึงผู้ซื้อเสียงให้หนัก

               ยิ่งขึ้น


                       ในงานของผูู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร ในบทความเรื่อง “การทุจริตการเลือกตั้ง:

               อุปสรรคการทำให้เป็นประชาธิปไตยของไทย” (2561. หน้า 1-17) ชี้ให้เห็นว่าการทุจริตการเลือกตั้งมี
               ความสัมพันธ์กับปัญหาการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยมาโดยตลอด ประชาชนได้ตัวแทนที่ไม่พึงปรารถนา

               ไม่เป็นประโยชน์ต่อระบบการเมือง โดยระบุว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้การเมืองไทยยังวนเวียนอยู่กับปัญหาดังกล่าว

               มี 3 ประการใหญ่ๆ คือ 1) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยมภายใต้ระบบอุปถัมภ์ที่อิงอาศัยนโยบาย

               ประชานิยม ซึ่งส่งผลหลายประการไม่ว่าจะเป็นการสกัดกั้นการแสดงออกของประชาชนทางการเมือง การยอม



                                                                                                       40
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46